ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 16 April 2025
EMA Indicator คืออะไร? ใช้งานยังไงให้เพิ่มโอกาสทำกำไรในการเทรด? แน่นอนว่า เราน่าจะเคยได้ยินเครื่องมือการเทรดอย่าง Indicator กันมาบ้างแล้ว ซึ่ง Exponential Moving Average (EMA) ก็สามารถทำให้คุณสามารถระบุแนวโน้มของราคาได้ เรามาดูเนื้อหาที่จำเป็นของ EMA เพิ่มเติมกันต่อได้เลย
EMA Indicator เป็น เครื่องมือที่ช่วยให้คุณวิเคราะห์แนวโน้มราคาได้ รวดเร็วและแม่นยำกว่าระบบค่าเฉลี่ยแบบเดิม คือ SMA
การวิเคราะห์เส้น EMA ให้ดูจาก Golden Cross (EMA สั้นตัดขึ้น EMA ยาว) เลือกซื้อ และ Death Cross (EMA สั้นตัดลง EMA ยาว) เลือกขาย
ตั้ง Stop Loss & Take Profit ด้วยเครื่องมือ EMA กับเครื่องมืออื่นๆ ร่วมกัน ก็ช่วยเพิ่มความแม่นยำได้ยิ่งขึ้นไปอีก
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
EMA (Exponential Moving Average) หรือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล เป็นเครื่องมือที่นักเทรดใช้ในการวิเคราะห์กราฟราคาสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น หรือ สกุลเงินดิจิทัล มีการคำนวณค่าเฉลี่ยราคาของสินทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง
ซึ่งให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดมากกว่าราคาก่อนหน้า ส่งผลให้ EMA ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า SMA (Simple Moving Average) หรือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย ที่ให้ความสำคัญกับราคาทุกจุดในช่วงเวลาที่เท่ากัน
EMA เป็นเส้นที่คำนวณจากการเฉลี่ยราคาของสินทรัพย์ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งราคาล่าสุดจะได้รับน้ำหนักมากกว่าราคาก่อนหน้า ช่วยให้นักเทรดสามารถเห็นทิศทางของตลาด สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และ แม่นยำยิ่งขึ้น การคำนวณ EMA จะมีการใช้ค่าทวีคูณ (Exponential) ทำให้ราคาที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง มีผลมากกว่าในช่วงก่อนหน้า
Exponential Moving Average (EMA) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สามารถติดตามแนวโน้มสินทรัพย์ได้แม่นยำ นักเทรดมือใหม่ก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การใช้ EMA จะช่วยให้สามารถทราบได้ว่าแนวโน้มของตลาดเป็นขาขึ้น (bullish) หรือขาลง (bearish) หากราคาสินทรัพย์อยู่เหนือเส้น EMA แสดงว่าแนวโน้มเป็นขาขึ้น แต่หากราคาต่ำกว่าเส้น EMA แสดงว่าแนวโน้มกำลังเป็นขาลง
Golden Cross: เมื่อเส้น EMA ระยะสั้น (เช่น EMA 10 หรือ EMA 20) ตัดขึ้นบนเส้น EMA ระยะยาว (เช่น EMA 50 หรือ EMA 200) ถือเป็นสัญญาณการซื้อ Bullish Signal
Death Cross: เมื่อเส้น EMA ระยะสั้น ตัดลงใต้เส้น EMA ระยะยาว เป็นสัญญาณการขาย Bearish Signal
ใช้เป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยง EMA สามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านในการตั้ง Stop Loss และ Take Profit คุณสามารถตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ระยะห่างจากเส้น EMA เพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของราคาได้ ทั้งยังเพิ่มโอกาสในการลงทุนและตั้งรับได้อย่างดี
การติดตั้งเส้น EMA Indicator แตกต่างกันในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น MetaTrader 4 (MT4) หรือ MetaTrader 5 (MT5) เป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ต่อไปนี้คือขั้นตอนการติดตั้ง EMA บนแพลตฟอร์มการเทรดที่ได้รับความนิยม:
เปิดโปรแกรม MetaTrader 4
เลือกกราฟของคู่เงิน (Currency Pair) หรือสินทรัพย์ที่คุณต้องการวิเคราะห์
คลิกที่ Insert บนแถบเมนูด้านบนของหน้าจอ
จากนั้นเลือก Indicators > Trend > Moving Average
เลือกประเภทของ Moving Average เป็น Exponential ในเมนู MA Method (ค่าเริ่มต้นจะเป็น Simple)
ตั้งค่า Period ที่แสดงถึงจำนวนวันที่จะใช้ในการคำนวณค่า EMA เช่น 9, 20, 50, 200 ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่คุณใช้
หลังจากตั้งค่าทุกอย่างเสร็จแล้ว คลิก OK
เปิดโปรแกรม MetaTrader 5
เลือกกราฟของคู่เงินหรือสินทรัพย์ที่คุณต้องการวิเคราะห์
หลังจากตั้งค่าทุกอย่างเสร็จแล้ว คลิก OK เส้น EMA จะปรากฏบนกราฟ
การใช้ EMA เป็นเครื่องมือเดียวอาจไม่เพียงพอในการเทรดที่มีประสิทธิภาพ แต่การนำ EMA มาผสมผสานกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ จะช่วยให้การตัดสินใจมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ตามนี้:
คุณสามารถเลือกใช้ EMA ได้หลายระยะเวลา เช่น การเลือกใช้ EMA 50 วัน หรือ EMA 200 วัน ในการวิเคราะห์ สำหรับการวิเคราะห์ EMA ระยะสั้น เช่น EMA 50 วัน และ EMA ระยะยาว ก็คือ EMA 200 วัน นั่นเอง ให้เรารอดูสัญญาณขาขึ้น (Golden Cross) ที่จะเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ
การใช้ EMA ร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ เช่น RSI (Relative Strength Index) หรือ MACD (Moving Average Convergence Divergence) จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาได้ดีขึ้น เช่น ใช้ EMA เพื่อหาทิศทางหลักของตลาด และใช้ RSI เพื่อหาโอกาสในการเข้าซื้อในจุดที่ราคาซื้อเกินหรือขายเกิน
การตั้ง Stop Loss ตามเส้น EMA ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของราคา คุณสามารถติดตั้ง Stop Loss ที่ระยะห่างจากเส้น EMA ขึ้นอยู่กับทิศทางของตลาด การตั้ง Stop Loss ในจุดที่ใกล้เคียงกับเส้น EMA จะช่วยให้การจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การใช้ EMA Indicator (Exponential Moving Average) ตั้ง Stop Loss และ Take Profit ของคุณ จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และช่วยควบคุมผลกำไร-ขาดทุนได้ทุกการเทรด เรามาดูหลักการพื้นฐานในการใช้ EMA กำหนดจุดต่างๆ กัน:
เมื่อราคาเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่คุณคาดการณ์ไว้ และราคาผ่านเส้น EMA ไปแล้ว คุณสามารถตั้ง Stop Loss ไว้ที่ เส้น EMA ที่ใกล้ที่สุด
ยกตัวอย่าง: ถ้าคุณเปิดการซื้อ (Long Position) และราคามีแนวโน้มขึ้น คุณสามารถตั้ง Stop Loss ที่เส้น EMA ระยะสั้น อย่าง เส้น EMA 20 หรือ EMA 50 เพื่อให้ราคาหากปรับตัวลดลงมา ยังมีช่วงเวลาที่ยืดหยุ่นในการออกจากตลาด
ถ้าคุณกำลังเปิดการซื้อ (Long Position) และราคามีแนวโน้มขึ้นเหนือเส้น EMA ไปแล้ว คุณสามารถตั้ง Take Profit ไว้ที่ ระดับถัดไป ของเส้น EMA หรือระยะห่างจาก EMA
ยกตัวอย่าง: หากใช้ EMA 50 ก็สามารถตั้ง Take Profit ที่ EMA 200 เพื่อให้การเทรดมีความมั่นคงและทำกำไรได้ตามแนวโน้มที่คาดเป้าไว้
การคำนวณ Exponential Moving Average (EMA) มีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าการคำนวณ Simple Moving Average (SMA) การคำนวณจะคำนึงถึงน้ำหนักของราคาที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งใช้สูตรดังนี้:
EMAt = ค่าของ EMA ในช่วงเวลาปัจจุบัน
Pt = ราคาปิดในช่วงเวลาปัจจุบัน
EMAt-1 = ค่าของ EMA ในช่วงเวลาก่อนหน้า
N = จำนวนวันในระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณ (เช่น 10, 50, 200 วัน)
ขั้นตอนการคำนวณจะเริ่มจากการหาค่า SMA สำหรับช่วงเวลานั้น ๆ ก่อน แล้วนำมาคำนวณ EMA ด้วย SMA เป็นค่าครั้งแรกของ EMA จากนั้นจะคำนวณ EMA ต่อเนื่องในแต่ละวัน โดยให้น้ำหนักมากขึ้นกับข้อมูลที่ใหม่กว่า
EMA Indicator และ SMA เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่มีความแตกต่างในการคำนวณเช่นกัน ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ในสถานการณ์ ความแตกต่างระหว่าง EMA vs SMA (Simple Moving Average) ดังนี้:
SMA จะคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาทุกจุดในช่วงเวลาที่กำหนด และไม่ให้ความสำคัญกับราคาที่เกิดขึ้นล่าสุด
SMA เป็นเครื่องมือที่มีความช้าในการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาตลาด
ตัวอย่าง: หากคุณใช้ SMA 50 วัน ค่าเฉลี่ยนี้ก็จะเริ่มคำนวณจากราคาหุ้นหรือสินทรัพย์ในช่วง 50 วันที่ผ่านมา โดยไม่ให้ความสำคัญกับราคาที่เกิดขึ้นใหม่
EMA จะคำนวณค่าเฉลี่ยโดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับราคาที่เกิดขึ้นล่าสุด ทำให้ EMA สามารถตอบสนองได้รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า SMA
EMA มักจะใช้ในการติดตามแนวโน้มระยะสั้น เพราะสามารถสะท้อนการเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดได้ดี
EMA Indicator จะมีความแม่นยำและตอบสนองเร็วกว่า SMA ในการติดตามแนวโน้มของราคา
แม้ว่า EMA Indicator จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ตลาด แต่ก็มีข้อจำกัดที่ควรระวัง การเข้าใจข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยให้สามารถใช้ EMA ได้เหมาะสม ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจผิดพลาด การใช้งาน EMA (Exponential Moving Average) จะต้องพิจารณาและผสมผสานกับเครื่องมืออื่นๆ:
เนื่องจาก EMA ให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดมากกว่า ทำให้บางครั้งอาจเกิดการตอบสนองที่รวดเร็วเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดสัญญาณหลอก (False Signal) โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ก็อาจจะทำให้คุณตัดสินใจได้อย่างผิดพลาด
EMA ช่วยระบุแนวโน้มได้ดี แต่ยังคงไม่สามารถทำนายการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ควรใช้เครื่องมืออื่นๆร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ เช่น RSI หรือ MACD จะช่วยให้การวิเคราะห์มีความแม่นยำมากขึ้น
หากตลาดไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (ตลาดขยับขึ้นลงในช่วงแคบ) การใช้ EMA Indicator ก็อาจทำให้เกิดสัญญาณที่หลอกลวงได้ เนื่องจาก EMA จะยังคงติดตามราคาในระยะสั้น แม้ว่าจะไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ทำให้การตัดสินใจอาจไม่คุ้มค่า หากไม่มีการใช้เครื่องมืออื่นร่วมด้วย
แม้ว่า EMA จะตอบสนองเร็วกว่า SMA แต่ในบางกรณี เช่น การเคลื่อนไหวของราคาที่เร็วเกินไปก็ยังสามารถทำให้เกิดความล่าช้าในการตอบสนองได้ นี่ก็อาจทำให้เกิดสัญญาณที่ไม่แม่นยำ ในช่วงที่ตลาดมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วหรือผิดปกติ
EMA Indicator หรือ Exponential Moving Average (EMA) เป็นเครื่องมือที่ใช้ คำนวณค่าเฉลี่ยของราคาสินทรัพย์ช่วงเวลาหนึ่ง ช่วยให้นักเทรดระบุแนวโน้มของตลาดได้ชัดเจนขึ้น ซึ่ง EMA ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคามากกว่า SMA (Simple Moving Average) คุณสามารถเลือกใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตาม EMA ก็มีข้อจำกัด อีกมากมาย ที่คุณจำเป็นต้องตรวจสอบก่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
เส้น EMA ที่นิยมใช้ ได้แก่ EMA 9, EMA 20, EMA 50, และ EMA 200 ซึ่งเส้น EMA 9 และ EMA 20 จะใช้ใน EMA ระยะสั้น, EMA 50 สำหรับระยะกลาง, และ EMA 200 ใช้ใน EMA ระยะยาว
เมื่อเส้นกราฟ EMA 20 ขึ้นข้ามเส้นกราฟ EMA 50 จากล่างขึ้นบน เป็นสัญญาณว่าตลาดมีแนวโน้มขาขึ้น แต่หากตัดกันจาก บนลงล่าง หมายความว่า จะเป็นตลาดขาลง
ควรเริ่มต้นด้วยการเลือกระยะเวลา จากนั้นดูทิศทางของราคา เมื่อราคาตัดขึ้นหรือหลุดจากเส้น EMA เพื่อหาจุดเข้าออกตลาด หรือใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
กลยุทธ์ 8-13-21-55 EMA เป็นการใช้เส้น EMA หลายตัวที่มีระยะเวลาต่างกันเพื่อระบุแนวโน้มและหาจุดเข้าออกตลาด การใช้เส้น EMA 8, 13, 21, 55 จะช่วยให้เห็นการเคลื่อนไหวราคาในหลายระดับ
การตั้งค่า 3 EMA ที่นิยมใช้คือ EMA 9, EMA 21, และ EMA 50 ซึ่งเส้น EMA 9 ใช้ในการติดตามทิศทางระยะสั้น, EMA 21 ใช้สำหรับแนวโน้มระยะกลาง, และ EMA 50 ใช้ในระยะยาว เพื่อให้เห็นภาพรวมของตลาดได้ดีขึ้น
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง