Logo

ฟอเร็กซ์

Bollinger Bands: ความหมาย การตีความ และกลยุทธ์การเทรด

เขียนโดย XS Editorial Team

อัปเดตแล้ว 21 กุมภาพันธ์ 2567

bollinger-bands
สารบัญ

    Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อทำความเข้าใจความผันผวนของตลาดและระบุโอกาสในการเทรดที่เป็นไปได้

    การเข้าใจความสำคัญของเส้น Bollinger Bands สามารถช่วยปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดของคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ

    สาระสำคัญ

    • Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการวัดความผันผวนของตลาด และระบุจุดเข้า-ออกที่เป็นไปได้

    • เส้น Upper Band และ Lower Band ส่งสัญญาณภาวะซื้อมากเกินไป และภาวะขายมากเกินไป ซึ่งช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจเทรด

    • การปรับแต่งค่าของ Bollinger Bands สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะกับสินทรัพย์และกลยุทธ์การเทรดที่แตกต่างกัน

    • Bollinger Bands จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ เพื่อช่วยยืนยันสัญญาณและลดความเสี่ยงจากการเกิดแนวทะลุหลอก

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    Bollinger Bands คืออะไร?

    Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่ช่วยให้นักเทรดวิเคราะห์ความผันผวนของตลาดและระบุจุดเข้า-ออกที่เป็นไปได้

    อินดิเคเตอร์นี้นี้ประกอบด้วย 3 เส้นหลักที่พล็อตบนกราฟราคาได้แก่: เส้นกลาง (Middle Line) คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) และเส้นบน (Upper Band) และ เส้นล่าง (Lower Band) คำนวณจากค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ที่อยู่ห่างจาก SMA

    Bollinger Bands จะขยายตัวเมื่อความผันผวนสูงและหดตัวเมื่อความผันผวนต่ำทำให้สามารถมองเห็นพฤติกรรมของราคาในบริบทของความผันผวนได้อย่างชัดเจน

     

    การคำนวณ Bollinger Bands

    โดยทั่วไปคุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการคำนวณ Bollinger Bands ด้วยตนเองเนื่องจากแพลตฟอร์มเทรดออนไลน์ส่วนใหญ่มักมีสูตรคำนวณ Bollinger Bands ให้ใช้งานเป็นเครื่องมืออยู่แล้ว คุณเพียงแค่เปิดใช้งานและเลือกการตั้งค่าที่ต้องการ

    อย่างไรก็ตามหากคุณสงสัยเกี่ยวกับวิธีการคำนวณ Bollinger Bands นั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา

    อันดับแรกให้คำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) ของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนดโดยทั่วไปจะใช้ 20 วัน
    จากนั้นเส้น Upper Band และ Lower Band จะถูกกำหนดให้อยู่ห่างจากค่า SMA เป็นสองค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations)

    วิธีการคำนวณนี้ทำให้ Bollinger Bands สามารถปรับตัวตามความผันผวนของตลาดได้แบบไดนามิก ทำให้เป็นอินดิเคเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือโดยทั่วไป

     

    การตั้งค่า Bollinger Bands

    ค่าเริ่มต้นของ Bollinger Bands กำหนดให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) อยู่ที่ 20 วัน และเส้น Upper และ Lower Bands อยู่ห่างจาก SMA 2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    อย่างไรก็ตามการตั้งค่าเหล่านี้สามารถปรับแต่งได้ตามสไตล์การเทรด และสินทรัพย์ที่คุณวิเคราะห์
    การปรับค่า Bollinger Bands อาจช่วยให้คุณมองเห็นมุมมองที่แตกต่างของตลาด

    ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทดสอบและปรับให้เหมาะสมตามกลยุทธ์ที่คุณใช้ในการเทรดด้วย Bollinger Bands

     

    วิธีปรับแต่งการตั้งค่า Bollinger Bands

    การปรับแต่ง Bollinger Bands ช่วยให้นักเทรดสามารถปรับเครื่องมือนี้ให้เหมาะกับสินทรัพย์ ช่วงเวลา และกลยุทธ์เฉพาะของตนเอง

    การปรับช่วงเวลาของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นสิ่งสำคัญ:

    • ช่วงเวลาสั้นลง (เช่น 10 วัน) ทำให้เส้น Bollinger Bands ตอบสนองได้ไวขึ้น เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้น

    • ช่วงเวลานานขึ้น (เช่น 50 วัน) ช่วยให้เส้นมีความราบเรียบขึ้นเหมาะสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มระยะยาว

    ในทำนองเดียวกันการปรับค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสามารถช่วยปรับระดับความไวของเครื่องมือได้การใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.5 ซึ่งเหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำหรือการใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.5 เหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง

    นักเทรดเดอร์ยังสามารถทดลองเปลี่ยนจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) เพื่อให้ Bollinger Bands ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาได้เร็วขึ้น

    สุดท้ายการทดสอบย้อนหลัง (Backtesting) ด้วยการตั้งค่าต่าง ๆ และปรับให้เข้ากับสภาวะตลาด เช่น ตลาดที่เป็นแนวโน้มหรืออยู่ในกรอบจะช่วยให้ใช้งาน Bollinger Bands ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดโอกาสเกิดสัญญาณหลอก

     

    Bollinger Bands vs. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

    แม้ว่า Bollinger Bands จะอิงจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แต่ก็ให้ข้อมูลมากกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA)

    ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แสดงเส้นราบเรียบที่สะท้อนราคากลางในช่วงเวลาที่กำหนดแต่ไม่ได้คำนึงถึงความผันผวนของตลาด

    ในทางกลับกัน Bollinger Bands รวมความผันผวนเข้าไปในโครงสร้างของเส้นทำให้เป็นเครื่องมือที่มีความหลากหลายมากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค.

     

    รูปแบบทั่วไปที่ใช้ร่วมกับ Bollinger Bands

    Bollinger Bands ไม่เพียงแต่ช่วยระบุภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold) แต่ยังสามารถใช้ในการตรวจจับรูปแบบกราฟสำคัญที่บ่งบอกถึงการกลับตัวของแนวโน้ม หรือ การต่อเนื่องของแนวโน้ม ได้อีกด้วย

     

    ดับบลิวคว่ำ (W-Bottoms)

    W-Bottoms เป็นรูปแบบการกลับตัวขาขึ้นที่มีจุดต่ำสุดสองจุดที่ชัดเจนจุดต่ำสุดแรกมักสัมผัสหรืออยู่ต่ำกว่าเส้นล่างของ Bollinger Bands ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะขายมากเกินไป (Oversold) ขณะที่จุดต่ำสุดที่สองอยู่เหนือเส้นล่างบ่งบอกถึงแรงกดดันขาลงที่ลดลง

    การทะลุขึ้นเหนือเส้นกลางยืนยันการกลับตัวของแนวโน้มขาขึ้นและเป็นสัญญาณซื้อที่แข็งแกร่ง

     

    เอ็มหงาย (M-Tops)

    M-Tops เป็นรูปแบบการกลับตัวขาลงที่มีลักษณะคล้ายกับ Double Top จุดสูงสุดแรกมักสัมผัสหรือทะลุเส้นบนของ Bollinger Bands ในขณะที่จุดสูงสุดที่สองอยู่ภายในเส้นบนแสดงถึงโมเมนตัมที่อ่อนตัวลง

    การทะลุต่ำกว่าเส้นกลางยืนยันแนวโน้มขาลงซึ่งมักเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการเปิดสถานะขาย

     

    Head and Shoulders

    รูปแบบ head and shoulders เป็นสัญญาณการกลับตัวขาลงซึ่งประกอบด้วยจุดสูงสุดสามจุด: จุดสูงสุดตรงกลาง (Head) ที่มักทะลุเส้นบนของ Bollinger Bands และจุดสูงสุดสองข้าง (Shoulders) ที่อยู่ภายในเส้น Bands

    การทะลุแนวเส้นคอกราฟ (Neckline) เป็นการยืนยันการกลับตัวของแนวโน้มซึ่งมักเป็นสัญญาณสำหรับการเปิดสถานะขาย

     

    วิธีการตีความ Bollinger Bands

    เมื่อคุณรู้จัก Bollinger Bands แล้วสิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจว่าอินดิเคเตอร์นี้สามารถช่วยในการเทรดของคุณได้อย่างไร

    หากต้องการใช้ Bollinger Bands ในกลยุทธ์การเทรดคุณต้องเข้าใจความหมายของมันอย่างถูกต้องนี่คือการตีความ Bollinger Bands แบบง่าย ๆ:

     

    การเคลื่อนไหวภายในกรอบ

    เมื่อวิเคราะห์กราฟราคาพร้อมกับ Bollinger Bands คุณจะสังเกตได้ว่าราคามักจะแกว่งตัวอยู่ระหว่างเส้นบนและเส้นล่าง

    เส้นเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิกซึ่งราคามักจะ "เด้งกลับ" เมื่อเข้าใกล้ขอบเขตของเส้น Bands

    ดังนั้นการสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาผ่าน Bollinger Bands สามารถสรุปสิ่งต่อไปนี้ได้:

    • ช่วงสะสม (Consolidation Phase): ราคาที่เคลื่อนไหวระหว่างเส้นบนและเส้นล่างของ Bollinger Bands มักบ่งบอกถึงช่วงสะสม ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์กำลังซื้อขายอยู่ในช่วงราคาที่ค่อนข้างคงที่โดยไม่มีแนวโน้มขึ้นหรือลงอย่างชัดเจน

    • ภาวะขายมากเกินไป (Oversold Condition): ราคาที่เข้าใกล้เส้นล่างของ Bollinger Bands บ่งบอกถึงภาวะขายมากเกินไปซึ่งอาจเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ

    • ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought Condition): ราคาที่เข้าใกล้เส้นบนของ Bollinger Bands บ่งบอกถึงภาวะซื้อมากเกินไปซึ่งอาจเป็นโอกาสในการขายทำกำไร

     

    สัญญาณที่อยู่กรอบบน

    เมื่อเข้าใจการตีความทั่วไปของการเคลื่อนไหวของราคาผ่าน Bollinger Bands แล้วมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใกล้เส้นบนบ่งบอกอะไรได้บ้าง

    เมื่อราคาสัมผัสเส้นบนของ Bollinger Bands อาจเป็นสัญญาณว่าสินทรัพย์อยู่ในภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought)

    ภาวะซื้อมากเกินไปหมายความว่าราคาได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยล่าสุด ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าอาจมีการปรับฐาน (Pullback) หรือกลับตัว (Reversal) เกิดขึ้น

    นอกจากนี้ ในตลาดที่เคลื่อนไหวในกรอบ (Range-bound Market) เส้นบนของ Bollinger Bands มักถูกใช้เป็นเป้าหมายขายสำหรับนักเทรดที่เน้นกลยุทธ์ mean reversion โดยคาดว่าราคาจะกลับมายังเส้นกลางของ Bollinger Bands

    อย่างไรก็ตามในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งราคาอาจอยู่เหนือเส้นบนเป็นระยะเวลานานซึ่งบ่งบอกถึงแรงซื้อที่ยังคงแข็งแกร่งดังนั้นจึงควรใช้สัญญาณนี้อย่างระมัดระวัง

    แม้ว่าการที่ราคาสัมผัสเส้นกรอบบนอาจเป็นสัญญาณของการกลับตัวแต่ควรใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ เช่น Relative Strength Index (RSI) หรือ Moving Average Convergence Divergence (MACD) เพื่อช่วยยืนยันสัญญาณก่อนตัดสินใจเทรด

     

    สัญญาณที่อยู่กรอบล่าง

    ในขณะที่เส้นบนบ่งบอกถึงภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) เส้นล่างของ Bollinger Bands บ่งบอกถึงภาวะขายมากเกินไป (Oversold)

    ภาวะขายมากเกินไปหมายความว่าราคาสินทรัพย์ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยล่าสุด ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ถูกตีค่าต่ำเกินไปและอาจเป็นโอกาสในการเข้าซื้อหรืออาจเป็นเพียงการหยุดพักตัวของแนวโน้มขาลง

    ในบางกรณีเมื่อลงไปแตะเส้นล่างอาจมีความผันผวนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ซึ่งอาจบ่งบอกถึงแรงขายที่ยังคงแข็งแกร่งหากราคายังคงอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของ Bollinger Bands เป็นระยะเวลานาน

    อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับเส้นกรอบบนการใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ เพื่อช่วยยืนยันแนวโน้มเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจผิดพลาดในการเทรด

     

    กรอบกว้างขยายขึ้นหมายความว่าอะไร

    ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ Bollinger Bands สามารถช่วยระบุความผันผวนของตลาดได้ผ่านการขยายตัวและกรอบแคบของเส้น Bands

    การที่ Bollinger Bands ขยายตัวหมายความว่าความผันผวนของตลาดกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราคามีการเคลื่อนไหวห่างจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มากขึ้นทำให้ระยะห่างระหว่างเส้นกรอบบนและเส้นกรอบล่างกว้างขึ้น

    โดยปกติแล้วการขยายตัวของ Bollinger Bands มักเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สำคัญในตลาด เช่น รายงานเศรษฐกิจ หรือการประกาศผลประกอบการ และมักเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงจุดเริ่มต้นของแนวโน้มราคาใหม่

    นอกจากนี้หากเส้น Bollinger Bands ขยายตัวหลังจากช่วงที่แคบลง ซึ่งเรียกว่า "Squeeze" มักเป็นสัญญาณของแนวทะลุที่กำลังจะเกิดขึ้นแม้ว่า Bollinger Bands จะไม่ได้ระบุทิศทางของการเคลื่อนไหวของราคาแต่การวิเคราะห์ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ สามารถช่วยคาดการณ์ทิศทางได้

    นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ควรเฝ้าติดตามตลาดอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความผันผวนที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่ โอกาสในการเทรดที่สำคัญ

     

    กรอบแคบหมายความว่าอะไร

    ในทางตรงกันข้ามเมื่อกรอบของ Bollinger Bands แคบลงหมายความว่าความผันผวนของตลาดกำลังลดลงซึ่งมักบ่งบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงสะสมโดยมีการเคลื่อนไหวของราคาที่จำกัด

    โดยทั่วไปกรอบแคบของ Bollinger Bands มักเกิดขึ้นก่อนการเคลื่อนไหวของราคาที่สำคัญหรือเรียกได้ว่าเป็น storm–making ทำให้เป็นสัญญาณที่สำคัญในการเทรด

    หากเกิด Squeeze เป็นเวลานาน อาจหมายความว่าตลาดกำลังสะสมโมเมนตัมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ แนวทะลุที่อาจเกิดขึ้นและโดยปกติยิ่งช่วง Squeeze นานเท่าไหร่การเคลื่อนไหวของราคาหลังจากนั้นก็มักจะรุนแรงขึ้น

    อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ทิศทางของแนวทะลุนั้นไม่ง่ายดังนั้นการใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ ควบคู่กันจะช่วยให้ตัดสินใจเทรดได้แม่นยำยิ่งขึ้น

     

    กลยุทธ์การเทรดด้วย Bollinger Bands

    Bollinger Bands สามารถนำมาใช้ร่วมกับกลยุทธ์การเทรดต่างๆ เพื่อช่วยระบุจุดเข้าและออกที่เหมาะสมได้

    นี่คือตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ Bollinger Bands อย่างมีประสิทธิภาพ:

     

    การเทรดด้วย Bollinger Bands Bounce

    กลยุทธ์ Bollinger Bounce อ้างอิงหลักการของ Mean Reversion ซึ่งหมายถึงแนวคิดที่ว่าราคามักจะกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของตนเองหลังจากที่เคลื่อนตัวไปแตะขอบนอกของกรอบ Bollinger Bands

     

    ขั้นตอนการเทรดด้วย Bollinger Band Bounce

    1. ระบุสภาวะตลาดที่เป็นช่วงไซด์เวย์ (Range-Bound Market): ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตลาดไม่ได้มีแนวโน้มที่แข็งแกร่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งกลยุทธ์นี้จะได้ผลดีที่สุดเมื่อราคาขึ้นลงอยู่ระหว่างแนวรับและแนวต้านที่ชัดเจน

    2. จับตาดูเส้นล่างของ Bollinger Bands: พิจารณาเปิดสถานะซื้อ (Buy) เมื่อราคาแตะกรอบเส้นล่างของ Bollinger Bands โดยคาดหวังว่าราคาจะดีดกลับขึ้นไปที่เส้นกลาง (เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่)

    3. กำหนดเป้าหมายใกล้เส้นบนของ Bollinger Bands: หลังจากเปิดสถานะซื้อให้ตั้งเป้าขายออกที่กรอบบนของ Bollinger Bands ซึ่งมักเป็นจุดที่ราคาจะเผชิญแนวต้านและอาจกลับตัวลง

    4. ทำซ้ำกระบวนการนี้: หากตลาดยังคงเคลื่อนไหวในกรอบไซด์เวย์สามารถใช้กลยุทธ์นี้ต่อไปได้ โดยเข้าซื้อที่กรอบล่างและขายที่กรอบบนตราบใดที่ราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเดิม

     

    Bollinger Bounce: การตั้งค่า Stop Loss และเป้าหมายทำกำไร

    ในการใช้กลยุทธ์นี้ตามที่กล่าวไปแล้วเป้าหมายทำกำไรควรกำหนดไว้ใกล้กรอบบนของ Bollinger Bands เนื่องจากเมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับนี้มีแนวโน้มที่จะเผชิญแนวต้านซึ่งอาจทำให้ราคากลับตัวหรือลดความผันผวนลง

    การปิดออเดอร์ที่หรือใกล้กรอบบนของ Bollinger Bands จะช่วยให้คุณสามารถทำกำไรจากการเด้งกลับของราคาได้พร้อมทั้งลดความเสี่ยงจากการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น

    นอกจากนี้เมื่อเปิดสถานะซื้อ (Buy) หลังจากที่ราคาแตะกรอบล่างของ Bollinger Bands คุณจำเป็นต้องตั้งค่า Stop Loss ไว้ต่ำกว่ากรอบล่างเล็กน้อย

    Stop Loss นี้ทำหน้าที่เป็นตาข่ายป้องกันความเสี่ยงกรณีที่ราคายังไม่ดีดกลับตามที่คาดการณ์ไว้และอาจปรับตัวลงต่อ

     

    การเทรดด้วย Bollinger Bands Squeeze

    กลยุทธ์ Bollinger Squeeze ใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาที่มีแนวโน้มรุนแรงหลังจากช่วงที่ความผันผวนต่ำซึ่งสามารถระบุได้จากกรอบ Bollinger Bands ที่แคบลงหรือ "บีบ" เข้าหากัน

     

    ขั้นตอนการเทรดด้วย Bollinger Squeeze

    1. ระบุช่วง Squeeze : มองหาช่วงที่กรอบ Bollinger Bands แคบลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบ่งชี้ว่าความผันผวนของตลาดลดลงและมีโอกาสเกิดการทะลุในอนาคต

    2. ใช้อินดิเคเตอร์อื่น ๆ ประกอบการวิเคราะห์: เนื่องจาก Bollinger Bands เพียงอย่างเดียวไม่ได้บอกทิศทางของแนวทะลุควรใช้อินดิเคเตอร์อื่นๆ เช่น RSI หรือ MACD เพื่อช่วยระบุว่าราคามีแนวโน้มจะเบรกขึ้นหรือลง

    3. เตรียมเข้าสถานะเทรด: เมื่อแนวทะลุเริ่มขึ้นให้เปิดออเดอร์ตามทิศทางที่ได้รับการยืนยันจากการวิเคราะห์หากอินดิเคเตอร์ชี้ให้เห็นแนวโน้มขาขึ้นพิจารณาเปิดตำแหน่งซื้อหากมีสัญญาณแนวโน้มขาลงอาจพิจารณาเปิดตำแหน่งขาย

     

    Bollinger Squeeze: การตั้งค่า Stop Loss และเป้าหมายทำกำไร

    เป้าหมายทำกำไรในกลยุทธ์ Bollinger Squeeze ควรตั้งตามความคาดหวังเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของแนวทะลุ

    วิธีทั่วไปคือการวัดความสูงของ Bollinger Bands ในช่วงที่มีการบีบตัวและนำระยะนั้นไปคาดการณ์เป้าหมายในทิศทางของแนวทะลุ

    นอกจากนี้ยังสามารถตั้งเป้าหมายทำกำไรใกล้แนวรับหรือแนวต้านสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่ราคามีแนวโน้มจะเผชิญแรงกดดันและอาจกลับตัว

    นอกจากนี้สำหรับการตั้งค่า Stop Loss ควรกำหนดให้อยู่ นอกบริเวณ Squeeze โดยวางไว้สูงกว่าหรือต่ำกว่าขอบของกรอบ Bollinger Bands เล็กน้อยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางของการเทรด

    ตัวอย่างเช่น หากคาดว่าราคาจะทะลุขึ้นและเปิดสถานะซื้อควรวาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าเส้นกรอบล่างของ Bollinger Bands ในช่วง Squeeze เพื่อจำกัดความเสี่ยงหากราคากลับตัวลงแทนที่จะทะลุขึ้นตามที่คาดการณ์

     

    ข้อผิดพลาดทั่วไปที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อใช้ Bollinger Bands

    แม้ว่า Bollinger Bands จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในเชิงวิเคราะห์ทางเทคนิคแต่เทรดเดอร์มักทำผิดพลาดบางอย่างที่อาจทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง นี่คือข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยง:

    • ใช้ Bollinger Bands เพียงอย่างเดียว: อย่าพึ่งพา Bollinger Bands เพียงอย่างเดียวควรยืนยันสัญญาณด้วยอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ เช่น RSI หรือ MACD

    • การตีความภาวะซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไปผิด: จำไว้ว่าราคาสามารถอยู่ในโซนสุดขั้วได้นานหากแนวโน้มแข็งแกร่งดังนั้นควรพิจารณาสภาพตลาดโดยรวม

    • มองข้ามเงื่อนไขของตลาด: ปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดที่เป็นแนวโน้ม vs ไซด์เวย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจผิดพลาด

    • ใช้ค่าเริ่มต้นโดยไม่ปรับแต่ง: ปรับแต่งค่าการตั้งค่า Bollinger Bands ให้เหมาะสมกับสินทรัพย์และตลาดเฉพาะที่เทรดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

     

    ประโยชน์ของการใช้ Bollinger Bands ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

    การใช้ Bollinger Bands มีประโยชน์ดังต่อไปนี้:

    • วัดความผันผวนของตลาด: ปรับตัวตามความผันผวนของตลาดทำให้สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ชัดเจน

    • ระบุแนวโน้มของราคา: ส่งสัญญาณถึงโอกาสที่แนวโน้มอาจกลับตัวเมื่อราคาแตะกรอบบนหรือกรอบล่างของ Bollinger Bands

    • มีความยืดหยุ่นสูง: สามารถใช้ได้กับสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ และช่วงเวลาหลายรูปแบบ

    • สนับสนุนแนวคิด Mean Reversion: ชี้ให้เห็นโอกาสในการเทรดเมื่อราคามีแนวโน้มกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยโดยเฉพาะในตลาดที่เคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์

     

    ข้อจำกัดของการใช้ Bollinger Bands ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

    แม้จะมีข้อดีแต่การเทรดด้วย Bollinger Bands ก็มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้:

    • สัญญาณหลอก: อาจให้สัญญาณที่คลาดเคลื่อนในตลาดที่มีแนวโน้ม

    • อินดิเคเตอร์แบบตามหลังราคา: ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างล่าช้า

    • ไม่มีความชัดเจนด้านทิศทาง: ไม่สามารถระบุทิศทางของแนวทะลุที่อาจเกิดขึ้นได้

    • ต้องใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆร่วมด้วย: มักต้องใช้เครื่องมืออื่นประกอบเพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

     

    บทสรุป

    Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาด

    ไม่ว่าคุณจะใช้กลยุทธ์ Bollinger Bounce หรือ Bollinger Squeeze การเข้าใจวิธีการนำอินดิเคเตอร์นี้ไปใช้อย่างถูกต้องสามารถช่วยพัฒนากลยุทธ์การเทรดของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      Bollinger Bands ประกอบด้วยเส้นกรอบบน เส้นกรอบล่าง และเส้นกรอบกลาง เส้นกรอบกลางคือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย (Simple Moving Average - SMA) เส้นกรอบบนและเส้นล่างถูกกำหนดให้อยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลำดับ

      Bollinger Bands แสดงถึงความผันผวนของตลาดและบ่งชี้ถึงภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold)

      เมื่อราคาแตะเส้นกรอบบนอาจหมายความว่าสินทรัพย์อยู่ในภาวะซื้อมากเกินไปหรือเมื่อราคาแตะเส้นกรอบล่างอาจหมายความว่าสินทรัพย์อยู่ในภาวะขายมากเกินไป

      สิ่งนี้สามารถช่วยคุณระบุโอกาสที่ราคาจะกลับตัวได้

      Bollinger Bands มีประสิทธิภาพในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์และช่วยระบุช่วงที่ตลาดมีความผันผวน อย่างไรก็ตามอาจให้สัญญาณหลอกในตลาดที่มีแนวโน้มแข็งแกร่ง

      ประสิทธิภาพของ Bollinger Bands จะดีขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ เพื่อการวิเคราะห์ตลาดให้ครอบคลุมมากขึ้น

      Bollinger Bands ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือค่ามาตรฐานที่กำหนดให้มีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 ช่วงเวลา และ 2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสำหรับเทรดเดอร์ส่วนใหญ่

      อย่างไรก็ตามการตั้งค่าที่"เหมาะสมที่สุด"ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดและสภาวะตลาดที่คุณใช้งาน

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top