Logo
หน้าหลัก  >  บทความ  >  แพทเทิร์นกราฟ double bottom

ฟอเร็กซ์

แพทเทิร์นกราฟ Double Bottom: การระบุ ความสำคัญ และเคล็ดลับ

เขียนโดย XS Editorial Team

อัปเดตแล้ว 13 ธันวาคม 2024

แพทเทิร์นกราฟ-double-bottom
สารบัญ

    แพทเทิร์น Double Bottom เป็นรูปแบบกราฟที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของการกลับตัวของราคาสินทรัพย์

    แพทเทิร์นนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและนิยมใช้โดยเทรดเดอร์ในการคาดการณ์การกลับตัวในทิศทางขาขึ้น

    บทความนี้จะกล่าวถึงความหมายของแพทเทิร์นแท่งเทียน Double Bottom วิธีการก่อตัวและโครงสร้างของรูปแบบนี้พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับรูปแบบที่คล้ายกันและวิเคราะห์ผลกระทบของรูปแบบนี้ที่มีต่อตลาด

    สาระสำคัญ

    • แพทเทิร์นกราฟ Double Bottom เป็นรูปแบบการกลับตัวขาขึ้นที่เกิดขึ้นหลังจากแนวโน้มขาลง โดยบ่งบอกถึงโอกาสที่ราคาสินทรัพย์จะปรับตัวขึ้น

    • แพทเทิร์นนี้ประกอบด้วยจุดต่ำสุดสองจุดที่ชัดเจนโดยมีจุดยอด (เส้นบริเวณคอกราฟ) อยู่ระหว่างกลาง และการยืนยันรูปแบบจะเกิดขึ้นเมื่อราคาทะลุผ่านเส้นบริเวณคอกราฟ ขึ้นไป

    • กลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพโดยใช้แพทเทิร์น Double Bottom ได้แก่ การเปิดตำแหน่งซื้อ (long position) หลังจากราคาทะลุเส้น neckline การตั้งคำสั่งหยุดขาดทุน (stop-loss) ไว้ต่ำกว่าจุดต่ำสุดที่สองและการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพิ่มเติมเพื่อยืนยันสัญญาณการซื้อขาย

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    แพทเทิร์น Double Bottom คืออะไร?

    แพทเทิร์น Double Bottom เป็นแพทเทิร์นการกลับตัวขาขึ้นที่เกิดขึ้นหลังจากแนวโน้มขาลง

    รูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายตัวอักษร"W"  โดยแสดงให้เห็นว่าราคาสินทรัพย์ได้ลดลงไปถึงจุดต่ำสุดสองครั้ง โดยมีจุดยอด (Peak) อยู่ระหว่างกลาง

    แพทเทิร์นนี้บ่งบอกว่าสินทรัพย์อาจเตรียมตัวเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการระบุโอกาสในการเข้าซื้อ

    จุดต่ำสุดทั้งสองจุดแสดงถึงแนวรับที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งบอกว่าราคาสินทรัพย์พยายามลดลงแต่ไม่สามารถลดลงไปได้อีกต่อไป

    การทะลุแนวผ่านเส้น neckline ของรูปแบบแพทเทิร์น Double Bottom เป็นการยืนยันแพทเทิร์นและบ่งบอกถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่
     

    การก่อตัวของรูปแบบ Double Bottom

    การก่อตัวของแพทเทิร์นแท่งเทียน Double Bottom เกิดขึ้นใน 3 ขั้นตอนหลักดังนี้:

    ระยะแรก- การสร้างจุดต่ำสุดแรก (First Bottom): ในช่วงแรกราคาจะปรับตัวลดลงไปสู่จุดต่ำสุดใหม่ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดแรกของรูปแบบนี้

    ระยะต่อมา - การดีดตัวขึ้นสู่จุดยอด (เส้นบริเวณคอกราฟ): หลังจากแตะจุดต่ำสุดแล้วราคาจะดีดตัวกลับขึ้นและสร้างจุดยอด (Peak) ซึ่งเรียกว่าเส้น neckline

    ระยะสุดท้าย - การสร้างจุดต่ำสุดที่สอง (Second Bottom): ราคาจะปรับตัวลดลงอีกครั้ง ไปยังระดับที่ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดแรก ซึ่งก่อให้เกิดจุดต่ำสุดที่สองและถือเป็นสัญญาณของความเป็นไปได้ที่จะเกิดการ กลับตัวในทิศทางขาขึ้น
     

    โครงสร้างของแพทเทิร์น Double Bottom

    นี่คือรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างของแพทเทิร์น Double Bottom:

    แนวโน้มขาลง (Downtrend)

    • แพทเทิร์นนี้เริ่มต้นหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของตลาดหมี

    • การลดลงครั้งแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการก่อตัวของแพทเทิร์น Double Bottom

    จุดต่ำสุดแรก (First Bottom)

    • ราคาปรับตัวลงจนถึงจุดต่ำสุด ซึ่งก่อให้เกิดจุดต่ำสุดแรก (First Bottom) โดยจุดนี้บ่งบอกถึงระดับแนวรับที่แข็งแกร่ง

    • เทรดเดอร์มักจับตามองจุดนี้เพื่อประเมินโอกาสในการซื้อหากราคาดีดตัวกลับจากจุดนี้ก็อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการกลับตัวระยะสั้นของราคา

    เส้น Neckline

    • ราคาดีดตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดแรกไปยังจุดยอด ซึ่งเรียกว่าเส้น neckline ของรูปแบบแพทเทิร์น Double Bottom โดยเส้นบริเวณคอกราฟ นี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านชั่วคราว

    • จุดยอดนี้แสดงถึงความพยายามในการฟื้นตัวของราคาแต่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ส่งผลให้ราคากลับตัวลงอีกครั้ง

    จุดต่ำสุดที่สอง (Second Bottom)

    • ราคาปรับตัวลดลงอีกครั้งและก่อให้เกิดจุดต่ำสุดที่สองในระดับที่ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดแรก ซึ่งเป็นการยืนยันความแข็งแกร่งของแนวรับในบริเวณนี้

    • จุดต่ำสุดที่สองแสดงให้เห็นว่าราคามีความพยายามจะลดลงอีกครั้งแต่ไม่สามารถลงต่ำกว่านี้ได้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่อาจเกิดการกลับตัว

    จุดทะลุแนว (Breakout Point)

    • แพทเทิร์นนี้จะได้รับกายืนยันเมื่อราคาทะลุผ่านเส้นบริเวณคอกราฟ ซึ่งบ่งบอกถึงโอกาสของการกลับตัวในทิศทางขาขึ้น

    • จุดทะลุนี้แสดงให้เห็นถึงแรงซื้อที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นในตลาดจากขาลงเป็นขาขึ้น

    แนวต้าน (Resistance)

    • เส้นบริเวณคอกราฟทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญและเมื่อราคาสามารถทะลุผ่านแนวต้านนี้ได้จะส่งสัญญาณถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

    • การทะลุผ่านแนวต้านอย่างชัดเจนแสดงให้เห็นถึงจุดสิ้นสุดของแนวโน้มขาลงก่อนหน้าและอาจบ่งบอกถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่
       

    รูปแบบ Double Bottom vs รูปแบบ Triple Bottom

    แม้ว่าทั้งรูปแบบ Double Bottom และ Triple Bottom จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโอกาสการกลับตัวในทิศทางขาขึ้นแต่รูปแบบ Triple Bottom จะมีจุดต่ำสุดที่ชัดเจน 3 จุด แทนที่จะเป็น 2 จุด

    รูปแบบ Triple Bottom มักจะมีความแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือมากกว่า เนื่องจากมีการยืนยันเพิ่มเติมจากจุดต่ำสุดที่สาม

    อย่างไรก็ตามทั้งสองรูปแบบนี้ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์ในการระบุโอกาสในการเข้าซื้อที่อาจเกิดขึ้นได้
     

    รูปแบบ Double Bottom vs. รูปแบบ Double Top

    ตรงกันข้ามกับรูปแบบ Double Bottom รูปแบบ double top pattern เป็นรูปแบบการกลับตัวในทิศทางขาลง รูปแบบนี้ประกอบด้วยจุดยอด (Peak) สองจุดที่คั่นด้วยจุดต่ำสุด (Trough) โดยมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "W" กลับด้าน

    รูปแบบ Double Top บ่งบอกว่าสินทรัพย์อาจมีแนวโน้มปรับตัวลดลงหลังจากที่ราคาขึ้นไปทดสอบแนวต้านถึงสองครั้งแต่ไม่สามารถทะลุผ่านได้
     

    รูปแบบ Double Bottom บ่งบอกถึงอะไร?

    รูปแบบ Double Bottom ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของความเชื่อมั่นในตลาดจากภาวะขาลง (Bearish) ไปสู่ภาวะขาขึ้น (Bullish)

    รูปแบบนี้บ่งบอกว่าราคาของสินทรัพย์ได้พบแนวรับที่แข็งแกร่งในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับที่ป้องกันไม่ให้ราคาลดลงไปได้อีก

    หลังจากราคาดีดตัวขึ้นไปถึงเส้น neckline ราคาจะกลับมาทดสอบแนวรับอีกครั้งและก่อให้เกิดจุดต่ำสุดที่สอง (Second Bottom) การเกิดจุดต่ำสุดที่สองนี้เป็นการยืนยันถึงความแข็งแกร่งของแนวรับและแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจของผู้ซื้อที่จะเข้าสู่ตลาดที่ระดับราคานี้

    เมื่อราคาสามารถทะลุผ่านเส้น neckline ได้ จะเป็นการยืนยันการกลับตัวในทิศทางขาขึ้น (Bullish Reversal) ซึ่งบ่งบอกว่าความกดดันจากแรงขายเริ่มลดลงและแรงซื้อกำลังเพิ่มขึ้น

    การทะลุผ่านแนวนี้บ่งชี้ว่าสินทรัพย์มีแนวโน้มเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นทำให้รูปแบบนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากการกลับตัวของแนวโน้ม

    โดยรวมแล้ว รูปแบบ Double Bottom เป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มขาลงก่อนหน้านี้อาจสิ้นสุดลงและมีโอกาสที่แนวโน้มขาขึ้นจะเกิดขึ้นในอนาคต
     

    รูปแบบต่างๆของแพทเทิน Double Bottom

    รูปแบบ Double Bottom เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการกลับตัวของตลาดแต่รูปแบบที่แตกต่างกันของ Double Bottom อาจเพิ่มความซับซ้อน ซึ่งส่งผลต่อทั้งประสิทธิภาพของรูปแบบและกลยุทธ์ที่ใช้ในการเทรดรูปแบบนี้
     

    รูปแบบ Double Bottom ที่ซับซ้อน (Complex Double Bottom Patterns)

    รูปแบบ Double Bottom ที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อมีการ "ทดสอบแนวรับ" หลายครั้งภายในโครงสร้างของจุดต่ำสุดสองจุด (Double Bottom) มาตรฐาน

    ลักษณะของรูปแบบนี้มีดังนี้:

    • การทดสอบแนวรับหลายครั้ง (Multiple Support Tests): แทนที่จะมีจุดต่ำสุดที่ชัดเจนเพียงสองจุด รูปแบบ Double Bottom ที่ซับซ้อนจะแสดงให้เห็นว่าราคาได้ทดสอบระดับแนวรับหลายครั้ง ซึ่งอาจมีการปรับฐาน (Retracement) เล็กน้อยระหว่างการทดสอบแต่ละครั้ง

    • การสะสมตัวในระยะเวลานานขึ้น (Extended Consolidation): รูปแบบเหล่านี้มักจะใช้เวลานานขึ้นในการก่อตัว เนื่องจากราคาจะอยู่ในช่วงการสะสม (Consolidation) เป็นเวลานานสิ่งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสะสมตำแหน่งซื้อ (Buy) มากขึ้นก่อนที่จะเกิดการทะลุแนวต้าน (Breakout)

    • ผลกระทบต่อการเทรด (Trading Impact): รูปแบบ Double Bottom ที่ซับซ้อนสามารถให้สัญญาณที่น่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากการทดสอบแนวรับหลายครั้งแสดงให้เห็นถึงแรงต้านทานที่แข็งแกร่งต่อการลดลงของราคา อย่างไรก็ตามการก่อตัวที่ใช้เวลานานขึ้นยังต้องการความอดทนจากเทรดเดอร์และอาจต้องตั้งค่า Stop-Loss ที่กว้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนระหว่างการก่อตัวของรูปแบบนี้

    รูปแบบ Double Bottom ที่ล้มเหลว (Failed Double Bottom Patterns)

    รูปแบบ Double Bottom ที่ล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อรูปแบบดูเหมือนจะเป็น Double Bottom ในช่วงแรกแต่ไม่สามารถทะลุผ่านเส้น neckline ได้สำเร็จ

    สาเหตุทั่วไปที่ทำให้รูปแบบล้มเหลว ได้แก่ แรงซื้อที่อ่อนแอ ปริมาณการซื้อขายที่ไม่เพียงพอ หรือปัจจัยภายนอกของตลาดที่เพิ่มแรงขายอย่างกะทันหัน

    • การทะลุหลอก (False Breakouts): ราคาอาจทะลุผ่านเส้น neckline ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่จากนั้นกลับตัวลงมาอีกครั้งทำให้รูปแบบไม่สมบูรณ์และไม่สามารถยืนยันการกลับตัวในทิศทางขาขึ้นได้

    • ปริมาณการซื้อขายที่อ่อนแอ: หากในช่วงที่ราคาทะลุผ่านเส้นบริเวณคอกราฟ ไม่มีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รูปแบบ Double Bottom จะมีโอกาสล้มเหลวสูงขึ้นเนื่องจากขาดแรงซื้อที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนไหวของราคาอย่างต่อเนื่อง

    • ปัจจัยภายนอกของตลาด (External Market Factors): ปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจที่ไม่คาดคิด หรือแรงขายที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันอาจทำให้รูปแบบ Double Bottom ล้มเหลวแม้ว่าจะมีสัญญาณของรูปแบบในช่วงแรกก็ตาม

    • ผลกระทบต่อการเทรด (Trading Impact): การรู้จักสัญญาณเริ่มต้นของรูปแบบ Double Bottom ที่ล้มเหลว เช่น ปริมาณการซื้อขายที่อ่อนแอ หรือการขาดความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหวหลังจากเกิดการทะลุเส้นบริเวณคอกราฟจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถปิดออเดอร์ได้ถูกจังหวะหรือปรับจุดหยุดขาดทุน (Stop-Loss) ให้รัดกุมมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนจากการ กลับตัวของราคาในทิศทางขาลง
       

    รูปแบบ Double Bottom พร้อมกับ Divergence

    รูปแบบ Double Bottom ที่มาพร้อมกับ divergence เกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนไหวของราคารูปแบบ Double Bottom ปรากฏขึ้นแต่ตัวบ่งชี้ทางเทคนิค (Technical Indicators) เช่น ดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (RSI) หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Convergence Divergence (MACD) ไม่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับราคาที่เกิดขึ้น

    • Divergence ในอินดิเคเตอร์: ตัวอย่างเช่น หากราคาก่อตัวจุดต่ำสุดที่สองในระดับที่ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดแรกแต่ค่า RSI ไม่ลดลงต่ำเท่ากับจุดต่ำสุดแรกแสดงให้เห็นถึงการอ่อนแรงของโมเมนตั้มขาลง (Downward Momentum)

    • สัญญาณการกลับตัวที่แข็งแกร่งขึ้น: Divergence ระหว่างการเคลื่อนไหวของราคาและอินดิเคเตอร์สามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับสัญญาณการกลับตัวได้ เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าแรงขายกำลังลดลง

    • ผลกระทบต่อการเทรด: Divergence สามารถทำให้รูปแบบ Double Bottom ทรงพลังมากขึ้น โดยส่งสัญญาณว่าแนวโน้มขาลงกำลังสูญเสียความแข็งแกร่ง ซึ่งอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการยืนยันรูปแบบก่อนตัดสินใจเข้าเทรด
       

    กลยุทธ์การเทรดโดยใช้รูปแบบ Double Bottom

    การเทรดรูปแบบ Double Bottom อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการระบุรูปแบบอย่างถูกต้องและการเทรดที่ถูกจังหวะตลอดจนการจัดการความเสี่ยงอย่างมีกลยุทธ์

    นี่คือกลยุทธ์การเทรดรูปแบบ Double Bottom ที่ควรพิจารณา:

    1. เปิดสถานะซื้อ (Enter Long Position): เปิดคำสั่งซื้อ (Buy Order) เมื่อราคาทะลุผ่านเส้น neckline ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการกลับตัวในทิศทางขาขึ้นจุดเข้าซื้อที่จุดนี้มีโอกาสสูงที่จะได้รับผลตอบแทนจากการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางขาขึ้น

    2. ตั้งค่า Stop-Loss (Set Stop-Loss): วางคำสั่งหยุดการขาดทุน (Stop-Loss) ไว้ใต้จุดต่ำสุดที่สองเล็กน้อยเพื่อจัดการความเสี่ยงและปกป้องเงินทุนหากรูปแบบล้มเหลวและราคากลับตัวเป็นขาลง Stop-Loss จะช่วยจำกัดการขาดทุน

    3. วัดเป้าหมายกำไร (Measure Target): ประมาณการเป้าหมายราคาที่คาดหวังโดยวัดความสูงของรูปแบบ (ระยะจากจุดต่ำสุดไปยังเส้น neckline) จากนั้นนำระยะดังกล่าวไปคาดการณ์เป้าหมายกำไรจากจุดที่เกิดการทะลุ (Breakout) วิธีนี้ช่วยระบุระดับราคาที่อาจทำกำไรได้

    4. ผสานเครื่องมือวิเคราะห์อื่น (Combine Indicators): เสริมกลยุทธ์การเทรดโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) หรือ ดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (RSI) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของสัญญาณที่ได้รับ

    5. ติดตามปริมาณการซื้อขาย (Monitor Volume): ยืนยันการทะลุแนวต้าน (Breakout) ด้วยปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น เนื่องจากปริมาณที่เพิ่มขึ้นช่วยเสริมความน่าเชื่อถือของรูปแบบ การเพิ่มขึ้นของปริมาณแสดงถึงความสนใจในการซื้อที่แข็งแกร่ง ซึ่งสนับสนุนการกลับตัวในทิศทางขาขึ้น

    เคล็ดลับในการเทรดด้วยรูปแบบ Double Bottom

    • รอการยืนยัน (Wait for Confirmation): รอให้รูปแบบได้รับการยืนยันโดยการที่ราคาทะลุผ่านเส้น neckline ก่อนที่จะเข้าเทรดเพื่อเพิ่มความมั่นใจในสัญญาณกลับตัว

    • วิเคราะห์ปริมาณการซื้อขาย (Analyze Volume): ตรวจสอบปริมาณการซื้อขายในช่วงที่เกิดการทะลุเส้น neckline หากปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นจะช่วยเสริมความน่าเชื่อถือของรูปแบบนี้

    • ตั้งคำสั่งหยุดขาดทุน (Set Stop-Loss Orders): ปกป้องเงินทุนของคุณโดยการวางคำสั่งหยุดขาดทุน (Stop-Loss) ไว้ต่ำกว่าจุดต่ำสุดที่สองเล็กน้อยเพื่อลดความเสี่ยงหากรูปแบบล้มเหลว

    • ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพิ่มเติม (Use Additional Indicators): เสริมกลยุทธ์ของคุณด้วยการใช้รูปแบบ Double Bottom ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) หรือดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (RSI) เพื่อรับสัญญาณที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

    • ติดตามข่าวสารและเหตุการณ์ในตลาด (Stay Informed): ติดตามข่าวสารและเหตุการณ์ในตลาดที่อาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในตลาด

    บทสรุป

    รูปแบบ Double Bottom ซึ่งมีลักษณะเด่นคือจุดต่ำสุดที่ชัดเจนสองจุดและการทะลุผ่านเส้นบริเวณคอกราฟ (neckline) บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นในตลาดจากภาวะขาลง (Bearish) เป็นภาวะขาขึ้น (Bullish)

    การเข้าใจถึงการก่อตัว โครงสร้าง และความหมายของรูปแบบนี้จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพและปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจในการซื้อขายได้

    ติดตาม XS เพื่อรับเนื้อหาการเรียนรู้เพิ่มเติม!

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      ใช่ รูปแบบ Double Bottom เป็นรูปแบบการกลับตัวในทิศทางขาขึ้น (Bullish Reversal Pattern)

      รูปแบบ Double Bottom มักได้รับการพิจารณาว่ามีความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับการยืนยันด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพิ่มเติมและปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ราคาทะลุเส้นบริเวณคอกราฟ

      รูปแบบ Double Bottom จะถือว่าไม่สมบูรณ์หากราคาล้มเหลวในการทะลุผ่านเส้นบริเวณคอกราฟ หรือหากราคาลดลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดที่สองอย่างมีนัยสำคัญ

      อัตราการชนะของรูปแบบ Double Bottom จะแตกต่างกันไปตามสภาวะตลาดและสินทรัพย์ที่ทำการเทรด อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้มักได้รับการพิจารณาว่ามีอัตราความสำเร็จสูงหากสามารถระบุและยืนยันได้อย่างถูกต้อง

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top