Logo
หน้าหลัก     บทความ     แนวรับ แนวต้าน support and resistance

ฟอเร็กซ์

แนวรับ แนวต้าน (support and resistance) ทุกอย่างที่คุณต้องรู้!

เขียนโดย Itsariya Doungnet

อัปเดตแล้ว 18 เมษายน 2025

แนวรับ แนวต้าน (support and resistance)
สารบัญ

    แนวรับ แนวต้าน (support and resistance) เป็นหลักการพื้นฐานที่คุณควรรู้ก่อนเข้าเทรด ซึ่งนี่เป็นอีกรูปแบบในการวิเคราะห์การวิ่งของราคา ที่นักเทรดทุกคนจำเป็นต้องใช้ เพื่อช่วยคาดเดาทิศทางราคาของสินทรัพย์ต่าง ๆ  ซึ่งแนวรับแนวต้าน มักจะใช้ร่วมกับเครื่องมือเสริมอื่นๆ เพื่อความมั่นใจในการเข้าเทรด

    การทำความเข้าใจ เราเข้าใจว่า การทำความเข้าใจเรื่องเทคนิค อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับนักเทรดบางคน เพราะฉะนั้นแล้ว เราจะมาอธิบายให้คุณเข้าใจได้ง่ายที่สุดในบทความนี้กัน

    สาระสำคัญ

    • แนวรับ แนวต้าน (support and resistance) เป็นเส้นระบุราคาที่หยุดการเคลื่อไหวทั้งขึ้นและลงในตลาด การเทรดฟอเร็กซ์ (Forex), การลงทุนในหุ้น และ คริปโต เป็นต้น

    • สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนตีเส้น แนวรับ แนวต้าน คือ เข้าใจรูปแบบกราฟแท่งเทียน, ปริมาณซื้อขาย (Volume) และ เส้นแนวโน้ม(Trendlines)

    • การใช้เส้น แนวรับ แนวต้าน ช่วยให้คุณตัดสินใจด้วยเหตุและผล มากกว่าการตัดสินใจด้วยอารมณ์ เพิ่มโอกาสการเทรดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    แนวรับ แนวต้าน (Support and Resistance) คืออะไร?

    เมื่อคุณเข้าร่วมการเทรด ไม่ว่าจะเป็นใน การเทรดตลาดหุ้น หรือ กา่รเทรดฟอเร็กซ์ การเข้าใจแนวรับ และ แนวต้านเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทั้งสองนี้ เป็นโซนราคา ที่มีความหมายสำคัญ ในการตัดสินใจเทรด โซนแนวรับ และ แนวต้านจะช่วยบ่งชี้ทิศทางของราคา และสามารถบอกคุณได้ว่า ควรซื้อหรือขายในช่วงไหน

    แนวรับ แนวต้าน (Support and Resistance) คือ

    • แนวรับ (Support) คือ ระดับราคาที่มีการเคลื่อนตัวลงมาถึงจุดๆ หนึ่งแล้ว มีนักลงทุนเข้าซื้อ ทำให้ราคาหยุดการตกลงและเริ่มกลับตัวขึ้นใหม่ ซึ่งราคาที่ลงมาในจุดๆ หนึ่ง แล้วกลับขึ้นไปได้ สามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง เราเรียกว่า เป็นแนวรับ หรือ โซนแนวรับ

    • แนวต้าน (Resistance) คือ ระดับราคาที่มีการเคลื่อนตัวขึ้นไปแล้ว มีคนขายออก ทำให้เราหยุด ณ.จุดๆ หนึ่ง และกลับตัวลงมาอีก หากมีคุณขายออกมากๆ ก็จะทำให้ราคาหยุดที่จุดนี้อยู่บ่อยครั้ง เราเรียกจุดนี้ว่า แนวต้าน หรือ โซนแนวต้าน

    เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แนวรับ ก็เปรียบเสมือน การที่เราโยนลูกเทนนิสลงพื้น และมีการเด้งกลับขึ้นมา ส่วนแนวต้าน ก็จะเป็นเหมือนการกระพยายามกระโดดขึ้นไปถึงเพดานของคุณ การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ทางเทคนิค ของ แนวรับ และ แนวต้าน จะช่วยให้คุณรู้ถึง การกลับตัวของราคา

     

    สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนตีเส้น แนวรับ แนวต้าน

    การวาดเส้น แนวรับ แนวต้าน เป็นสิ่งที่สำคัญ หากคุณไม่แน่ใจว่าควรวาดยังไง หรือเริ่มจากจุดไหนก่อน นี่คือ  3 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนจะเริ่มกำหนด ระดับแนวรับ ระดับแนวต้าน ที่แม่นยำได้ แต่ละหัวข้อที่เราระบุ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจ รวมไปถึงการฝึก Back-test จากการเคลื่อนไหวของราคา เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ในการเทรดจริง

     

    1. กราฟแท่งเทียน (Candlestick Patterns)

    กราฟแท่งเทียน เป็นเครื่องมือที่ช่วยระบะการกลับตัวของราคาในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่มีการระบุรูปแบบกราฟแท่งเทียนไว้ หรือ การวิเคราะห์กราฟ ที่เรียกว่า Candlestick Patterns ซึ่งคุณจะมองเห็นสัญญาณจาก รูปแบบแท่งเทียน เช่น Hammer, Doji, Engulfing และอื่นๆ ที่เป็นอีกตัวสำคัญในการยืนยันแนวรับหรือแนวต้าน

     

    2. การวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขาย (Volume)

    ตัวช่วยสำคัญในการยืนยันความแข็งแรงของแนวรับและแนวต้าน นี่ก็เป็นอีกจุดสำคัญที่สามารถทำกำไรให้คุณได้ดีเลยทีเดียว หากราคาทะลุผ่านแนวรับ หรือ แนวต้าน ไป พร้อมกับ ยอดซื้อ หรือ ยอดขาย ที่มากขึ้นกว่าเดิม ก็หมายความว่า จุดนั้นมีการยืนยันจากปริมาณซื้อขายของตลาดเรียบร้อยแล้ว เพิ่มความมั่นใจให้กับนักเทรดได้ดี

     

    3. เส้นแนวโน้ม (Trendlines)

    การวาดเส้นแนวโน้ม จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวม แนวโน้มของราคา ทำให้คุณสามารถวาดเส้นแนวรับและแนวต้านได้ง่ายขึ้น และแม่นยำมากขึ้น เป็นการเชื่อจุดสูงสุดและจุดสูงสุดของราคาจากอดีตถึงปัจจุบัน คุณจะเห็นได้ว่า แนวโน้มราคาจะมาจบที่จุดไหนหรือจบที่จุดไหน ทำให้เห็นจุดเข้าเทรดได้ เพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเทรดได้มากขึ้น

     

    วิธี ตีเส้น แนวรับ แนวต้าน (support and resistance)

    การหา แนวรับ แนวต้น มีระดับขั้นตอนอยู่ เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์ ซึ่งคุณจำเป็นต้องเข้าใจการเคลื่อนตัวของราคา เช่น จุดที่ราคากลับตัว หรือ จุดที่ราคามีการหยุดเคลื่อนไหว สามารถทำตามขั้นตอนได้เลยง่ายๆ

     

    ขั้นตอนที่ 1: เลือกช่วงเวลา (Timeframe)

    คุณสามารถเลือกช่วงเวลาต้องการเทรดได้เลย เช่น ช่วงเวลาการเคลื่อนไหวราคา 5 นาที, 30 นาที, 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง หรือ 1 วัน) สามารถเลือกดูหลายช่วงเวลาเพื่อคอนเฟิร์มการวิ่งของราคา เพราะการเลือกเทรดช่วงเวลาสั้นๆ อย่าง 5 นาที หรือ 30 นาที ก็อาจจะไม่สามารถบ่งบอกแนวโน้มการวิ่งของราคาได้แม่นยำเท่าไหร่นัก

     

    ขั้นตอนที่ 2: หาเส้นแนวโน้ม

    ตรวจสอบเส้นแนวโน้มกันก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า ราคากำลังวิ่งขึ้น หรือ วิ่งลง เพื่อการหาเส้น แนวรับ แนวต้าน ที่ถูกต้อง วิธีนี้จะเริ่มต้นด้วยการเลือกช่วงเวลาระยะยาวกันก่อน เช่น 4 ชั่วโมง หรือ 1 วัน เพื่อให้เห็นภาพรวม และค่อยๆ ย่อกราฟลงมาจนถึงช่วงเวลา ที่คุณต้องการวิเคราะห์เพื่อเข้าเทรด

    เทรนด์ตลาดเทรด

    หากกราฟวิ่งขึ้น หรือ Uptrend เราจะใช้เส้น Support ลากที่ก้นของเส้นที่ลงมากระทบกับเส้นแนวโน้มด้านล่าง แต่หากกราฟวิ่งลง หรือ Downtrend เราจะลากเส้นด้านบนที่เส้นวิ่งขึ้นไปกระทบ อ่านต่อในขั้นตอนต่อไปได้เลย

     

    ขั้นตอนที่ 3: หา จุดที่ราคาสูงสุด และ ราคาที่ต่ำสุด

    เมื่อคุณเลือกช่วงเวลาเทรด ที่ต้องการวิเคราะห์ได้แล้ว ให้หา จุดราคาต่ำสุด และ สูงสุด ที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้น เช่น หากคุณต้องการเทรดระยะสั้น 30 นาที ก็ให้หาจุดราคาที่ช่วงเวลานี้ แต่ก็ควรดูควบคู่กับ ช่วงเวลา 1 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงร่วมด้วย

    • ระดับสูงสุด คือ แนวรับ ที่ราคาร่วงลงมากระทบจุดเดิมหลายครั้ง ให้ลากเส้นแนวนอน ณ.จุดนั้น

    • ระดับต่ำสุด คือ แนวต้าน ที่ราคาขึ้นไปกระทบ แต่ไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้  ให้ลากเส้นแนวนอนตรงที่ราคาขึ้นไปกระทบบ่อยครั้ง

     

    ขั้นตอนที่ 4: รอจุด Breakout

    ราคาที่ติดอยู่กับ แนวรับ หรือ แนวต้าน จะมีการ Breakout อยู่เสมอ เมื่อคุณได้ลากเส้นที่จุดราคาเรียบร้อยแล้ว ให้เฝ้าดูจุด Breakout เพื่อยืนยันแนวโน้มของราคา

    ุจุด Breakout

    ยกตัวอย่างจากในรูปด้านซ้ายสุด คือ เราได้ขีดเส้นแนวต้านไว้ ในช่วงเวลา 1 วัน ราคาได้ทะลุขึ้นไปทำ จุดสูงสุดใหม่ หรือ New high ส่วนแนวรับ คือ ด้านขวาสุด จะเห็นได้ว่า ราคาได้ทะลุลงมา ซึ่งจุดนี้เรียกว่า Breakout นั่นเอง

     

    ขั้นตอนที่ 5: รอจุด Retest ก่อนเพื่อการยืนยันอีกครั้ง

    เมื่อราคา ทะลุแนวรับแนวต้าน หรือ จุด Breakout ไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการ Retest อีกครั้ง ซึ่งจุด Retest เป็นจุดที่ราคาย้อนกลับมาที่ โซน Support หรือ โซน Resistance อีกครั้ง จากนั้น ก็จะเด้งกลับไปที่แนวราคาเดิม

    จุด Retest

    ตัวอย่างในรูป คือ ราคาได้ทะลุจุด Resistance ขึ้นไป แล้วย้อนกลับมาทำ Retest และเด้งกลับไปที่ขาขึ้นเช่นเดิม ซึ่งนี่ก็เป็น การยืนยันได้ว่า ราคาจะวิ่งขึ้นต่อ ไปทำจุดราคาสูงสุดใหม่  แต่หากราคาลงมาทำ Retest หรือ การทดสอบแนวรับแนวต้าน และ ทะลุ Resistance ลงมา ก็หมายความว่า ราคากลับตัวเป็นขาลง ก็ให้ดูโซนราคาขาลงแทน จากนั้นก็เข้าเทรดได้เลย

     

    เทคนิคเสริม แนวรับ แนวต้าน ด้วยอินดิเคเตอร์

    หากคุณต้องการใช้เครื่องมือเสริม หรือ อินดิเคเตอร์ (แนวรับแนวต้าน Indicator) ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ หากคุณต้องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่ยังไม่รู้ว่าจะใช้เครื่องมือไหน และ เครื่องมือไหนใช้งานอย่างไร เราก็ได้รวบรวมมาให้คุณแล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่นักเทรดทุกคนจำเป็นต้องรู้ เรามาอ่านต่อเลย:

     

    1. อินดิเคเตอร์ Fibonacci Retracement

    เครื่องมือ อินดิเคเตอร์ Fibonacci Retracement เป็นเครื่องมือยอดฮิต ที่มีคุณสมบัติหาแนวโน้มราคา ระดับเนวรับ และระดับแนวตลาด ซึ่งการใช้เครื่องมือนี้จะแบ่งตัวกัน 3 ระดับ เช่น 38.2%, 50%, 61.8% และ 78.6% ทั้งนี้แล้วก็ขึ้นอยู่กลยุทธ์ของแต่ละคนด้วยเช่นกัน สัญญาณการกลับตัวของราคา ให้ตรวจสอบดู เมื่อราคาลงมาที่ราคา 50% ของเส้น Fibonacci

     

    2. อินดิเคเตอร์ Moving Averages (MA)

    การใช้เครื่องมือ Moving Averages หรือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็จะมีการตั้งค่าแตกต่างกันไป คุณสามารถเลือก MA50 และ MA200 ที่เป็นรูปแบบพื้นฐาน ซึ่งหากราคาเคลื่อนตัวไปเหนือ MA50 ก็จะเป็นสัญญาณราคาขาขึ้น หรือ แนวรับ แต่หากราคาต่ำกว่า MA200 เป็นสัญญาณราคาขาลง หรือ แนวต้าน หากราคาลงมาแตะที่ MA50 และเด้งกลับ ก็ให้รอสัญญาณยืนยันอีกที

     

    3. อินดิเคเตอร์ Bollinger Bands

    การใช้เครื่องมือ Bollinger Bands จะแสดงให้เห็นความผันผวนของตลาด หากราคาทะลุขึ้นเหนือเส้น Bollinger Bands ก็จะเป็นสัญญาณของแนวต้าน ซึ่งหากราคาไม่ลงมาทำให้เส้นถูกทดสอบอีกครั้ง คุณสามารถเลือกพิจารณาการขายได้ เพราะราคาอาจจะย้อนกลับ

     

    จิตวิทยาการลงทุน แนวรับ แนวต้าน (support and resistance)

    จิตวิทยาการเทรด เป็นอีกอย่างที่นักเทรดต้องให้ความสนใจ เพราะการตัดสินใจการเทรดทุกครั้ง จะต้องขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และการวิเคราะห์ แต่จะไม่ได้มาจากอารมณ์ของนักลงทุน เช่น คิดว่าตอนนี้เข้าเทรดได้ หรือ คิดว่าตอนนี้ขายออกได้ เพราะหลายครั้งก็อาจจะส่งผลลัพธ์การเทรดในทางตรงกันข้ามได้ ซึ่ง แนวรับ แนวต้าน ก็มีส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุและผลมากกว่า

     

    หลีกเลี่ยงการตัดสินใจจากความโลภหรือความรู้สึกกลัว

    คุณอาจจะเคยได้ยิน Fear of Missing Out - FOMO กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการทำราคาโดยที่นักลงทุนซื้อเมื่อราคาขึ้น และขายตอนราคาลง ซึ่งนี่เป็นการตัดสินใจจากอารมณ์มากกว่าการวิเคราะห์เชิงลึงหรือการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค การเข้าใจพฤติกรรมนี้ จะช่วยให้คุณคาดเดาการเคลื่อนไหวราคาได้ เพราะฉะนั้นแล้ว ควรมีการวางแผนเทรดที่ชัดเจน

     

    ความสำคัญแนวรับและแนวต้าน

    แนวรับ แนวต้าน ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจอย่างมีหลักการและเหตุผลมากขึ้น เป็นอีกรูปแบบ การจัดการความเสี่ยง ในการเทรด เพราะจะช่วยให้คุณเห็นโอกาสเลือกเข้าเทรด หรือ ออกจากเทรด ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น การใช้เครื่องมือนี้สำคัญมาก และยังช่วยลดการตัดสินใจเข้าเทรดด้วยอารมณ์อีกด้วย นอกจากนี้แล้วก็ยังสามารถเพิ่มโอกาสชนะเทรดได้มากขึ้น

     

    สรุป

    แนวรับ แนวต้าน (support and resistance) เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวิเคราะห์หา แนวโน้มของราคา  เพื่อให้คุณเข้าเทรดได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงแค่นี้ แนวรับ แนวต้าน ก็ยังช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมีหลักการมากขึ้น และไม่ขึ้นต่ออารมณ์ของนักเทรด ช่วยลดความผิดพลาดได้มากขึ้น สามารถเลือกใช้เครื่องเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย ตามที่คุณต้องการ เพื่อความแม่นยำในการคาดการณ์วิ่งของราคา

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      แนวรับ คือ ระดับแนวรับที่ราคาตกลงมา ส่วนแนวต้าน คือ ระดับแนวต้านที่ราคาไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้ จนต้องกลับตัวลงมา

       

      เริ่มต้นด้วย การเลือกช่วงเวลา, ดูแนวโน้มของราคาภาพรวม, หาจุดสูงสุด และ จุดต่ำสุด จากนั้นให้รอดู Breakout และ Retest ก่อนตัดสินใจเข้าเทรด

      คุณสามารถใช้ อินดิเคเตอร์  Fibonacci Retracement, Moving Averages (MA) และ Bollinger Bands เพื่อช่วยหาแนวรับแนวต้านได้

      ช่วยให้คุณตัดสินใจเข้าเทรดอย่างมีหลักการ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าตลาด หรือ ออกตลาด เพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรได้มากยิ่งขึ้น

      เมื่อราคาทำลุผ่าน ระดับแนวรับ หรือ ระดับแนวต้าน คือ สัญญาณที่ราคาเปลี่ยนทิศทาง ซึ่งเราเรียกการเคลื่อนที่ราคาแบบนี้ว่า Breakout

      Itsariya Doungnet

      Itsariya Doungnet

      SEO Content Writer

      อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top