ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 25 เมษายน 2025
การเทรด Forex การเลือก Leverage เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องตัดสินใจ ซึ่งนี่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มอำนาจซื้อขายที่มากขึ้น แล้ว เลเวอเรจ คือ (What is leverage)? มีวิธีการใช้งานอย่างไร? ข้อดีข้อเสีย มีอะไรบ้าง ห้ามพลาด อ่านรายละเอียดต่อในบทความนี้ได้เลย เราพร้อมอธิบายให้กับนักเทรดมือใหม่เข้าใจกันง่ายๆ และสามารถนำคำแนะนำของเราไปใช้งานได้จริง อ่านต่อเลย!
เลเวอเรจ คือ (What is leverage) คือ การที่นัดเทรดสามารถยืมเงินจากโบรกเกอร์ เพื่อเพิ่มอำนาจการซื้อขาย โดยที่คุณไม่ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดของตัวเอง
เลเวอเรจ สามารถช่วยให้คุณวางแผนการเทรดได้อย่างเหมาะสม โดยการคำนวณอัตราส่วนเลเวอเรจ จำนวน Lot ที่คุณต้องการ และ เป้าหมายกำไรที่คุณต้องการ
การใช้เลเวอเรจอย่างปลอดภัย ทำได้ง่ายๆ เพียง ตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit ติดตามการเคลื่อนไหวราคาอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมความเสี่ยง
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
เลเวอเรจ คือ (What is leverage) การยืมเงินเงินจากโบรกเกอร์มาเพื่อเพิ่มอำนาจการซื้อขาย เป็นรูปแบบที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนทั้งหมดของตัวเอง เช่น หากคุณมีเงินอยู่ 1,000 บาท ต้องการใช้ อัตราส่วนเลเวอเรจ 1:100 หมายความว่า คุณสามารถลงทุนได้มากถึง 100,000 บาท จากเงินทุนเดิม การใช้เลเวอเรจมีความเสี่ยงที่คุณต้องระวังเช่นเดียวกัน
อัตราส่วนเลเวอเรจ (Leverage Ratio) คือ อัตราที่คุณสามารถทวีคูณเงินกำไรจากการเทรดของคุณ อย่างที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งคุณสามารถทำกำไรได้มากขึ้นกว่าเดิมมากแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนเลเวอเรจที่คุณเลือก เรายกตัวอย่างมาให้คุณได้เห็นพลาดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เลเวอเรจในตลาดการเงินคืออะไร การใช้เลเวอเลจสามารถส่งผลตอบแทนได้สูง แต่ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งเลเวอเลจมากขึ้นมากแค่ไหน ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งคุณก็ควรเลือกความเสี่ยงที่สามารถรับได้ เพื่อเป็นการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่ก็เป็นตัวอย่างการใช้เลเวอเรจในการเทรด
หมายเหตุ: กรณีนี้เราตั้งค่า เปอร์เซ็นต์ขาดทุน ที่ยอมรับได้ไว้ 10%
เลเวอเรจ (Leverage)
5 เท่า
10 เท่า
100 เท่า
เงินทุนของเรา
1,000 บาท
มูลค่าการลงทุนทั้งหมด
1,000+5,000 = 6,000 บาท
1,000+10,000 = 11,000 บาท
1,000+100,000 = 101,000 บาท
ความเสี่ยง
6,000 x 10% = 600 บาท
11,000 x 10% =1,100 บาท
101,000 x 10% = 10,100 บาท
นาย A เทรด EURUSD ด้วยการเปิด 0.1 Lot และ Leverage 1:500
Lot Size = 0.1
Contract Size = 100,000
ราคา EURUSD = 1.0000
Leverage = 500
หมายความว่า นาย A ต้องใช้ มาร์จิ้นเพียง $20 เท่านั้น
นาย A เทรด EURUSD ด้วยการเปิด 1.0 Lot และ Leverage 1:100
Lot Size = 1.0
Leverage = 100
หมายความว่า นาย A ต้องใช้ มาร์จิ้นเพียง $1,000 ในการเปิดซื้อขายออเดอร์ 1 Lot
มีเครื่องมือสำหรับนักเทรดหลากหลายรูปแบบให้เลือกในการทำกำไร อย่าง เลเวอเรจ (Leverage) และ มาร์จิ้น (Margin) ก็เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการเทรดอย่างมากที่คุณจะต้องเข้าใจอย่างละเอียด เรามาดูความหมายและ ความแตกต่างของ มาร์จิ้นและเลเวอเรจ นี้กันต่อเลย!
เลเวอเรจ คือ การยืมเงินมาลงทุน หรือ รูปแบบการเพิ่มอำนาจการซื้อขายบนแพลตฟอร์มที่คุณใช้งาน ที่ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มกำไรในการเทรดได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินทุนทั้งหมดที่มีอยู่
ตัวอย่าง: หากคุณมีเงินทุนอยู่ 1,000 บาท เลือกใช้เลเวอเรจ 10 เท่า ก็สามารถลงทุนได้กว่า 10 เท่าของเงินทุนของคุณ คือ 1,000 x 10 =10,000 บาท
มาร์จิ้น คือ เงินทุนของคุณเอง ที่คุณต้องจ่ายเองเพื่อเปิดการเทรด ซึ่งเมื่อนักลงทุนทำการซื้อขายในตลาดฟิวเจอร์หรือการเทรดหุ้นผ่านการยืมจากโบรกเกอร์ คุณจะต้องมีเงินมาร์จิ้นในบัญชีเพื่อเปิดการซื้อขาย
ตัวอย่าง: หากคุณต้องการซื้อหุ้นมูลค่า 1,000 บาท และทางโบกเกอร์กำหนดมาร์จิ้นไว้ที่ 10% คุณจำเป็นจะต้องมีเงินอยู่ในบัญชี 1,000 x 10 = 100 บาท ขั้นต่ำ
การใช้ เลเวอเรจ (Leverage) มีข้อดีข้อเสีย ที่นักเทรดจำเป็นต้องรู้ เพื่อการบริการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ การพิจารณาอย่างรอบคอบช่วยให้คุณสามารถขยายการลงทุนได้มากขึ้น และสามารถใช้เลเวอเรจได้กันอย่างระมัดระวังมากขึ้น
เราเชื่อว่าหลายคนคงจะเข้าใจกันแล้วว่า เลเวอเรจช่วยเพิ่มอำนาจในการซื้อขายมากขึ้น และนอกจากนี้แล้ว ก็ยังช่วยทำกำไรให้กับคุณได้มากเท่าตัว โดยที่คุณไม่ต้องใช้เงินทุนของตัวเองในการเดิมพันทั้งหมด เรามาดูกันต่อเลย
เพิ่มผลกำไรให้กับนักลงทุน: การใช้เลเวอเรจจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยเงินทุนที่น้อยกว่า หากตลาดมีทิศทางที่ดี คุณสามารถได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น
เพิ่มโอกาสในการลงทุน: นักลงทุนที่มีเงินทุนจำกัด จะมีโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น
การจัดการความเสี่ยงเมื่อใช้เลเวอเรจ: นักลงทุนสามารถเลือกใช้เลเวอเรจในการกระจายความเสี่ยง
เลเวอเรจ (Leverage) มีข้อเสียเช่นกัน เพราะการเพิ่มโอกาสต่างๆ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุนด้วยเช่นกัน หรือ ภาระดอกเบี้ยการยืมเงิน เป็นต้น หากคุณเป็นมือใหม่ ห้ามพลาดพิจารณาข้อเสียเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
เพิ่มความเสี่ยงจากการขาดทุนสูงขึ้น: หากตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ก็อาจจะเสี่ยงขาดทุนมากกว่าในการใช้เลเวอเรจ
มีการชาร์จดอกเบี้ย: โบรกเกอร์บางแห่งอาจจะมีการชาร์จดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงจากการถูกบังคับขาย: การลงทุนต่ำสุดจะถูกกำหนดไว้ที่ระดับมาร์จิ้น ซึ่งหากคุณพลาดในการเทรดครั้งนั้น เงินทุนของคุณจะถูกเรียกเก็บจากโบรกเกอร์อัตโนมัติ หรือ Margin Call
การใช้ เลเวอเรจ (Leverage) ในการลงทุน สามารถเพิ่มโอกาสทำกำไรให้กับนักเทรดได้อย่างมหาศาล และแน่นอนมีความเสี่ยงตามมาด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วเราจะมาเรียนรู้ ข้อควรรู้ในการลงทุนด้วย Leverage อย่างปลอดภัย สิ่งที่คุณต้องเข้าใจและระมัดระวัง
เลเวอเรจ มีหลายระดับ ที่คุณสามารถเลือกได้ตามต้องการ ซึ่งแต่ละระดับควรอยู่ในอัตราส่วนที่คุณยอมรับได้เช่นกัน การทำความเข้าใจการทำงานของอัตราส่วน รวมไปถึง การคำนวณเลเวอเรจในการซื้อขาย ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะสามารถบ่งบอกให้คุณรู้ได้ว่า คุณจะทำกำไรจากการเทรดนี้ได้เท่าไหร่ หรือหากเป็นตาเสีย คุณจะเสียเงินเท่าไหร่จากการลงทุน
คุณจำเป็นจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงของเลเวอเรจที่รอบคอบ เพื่อป้องกันการล้างพอร์ตเทรดของคุณ ซึ่งหลายครั้งที่นักเทรดเพิ่มการเทรดด้วยเลเวอเรจสูงเกิน ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน นี่ก็อาจจะทำให้เกิดการขาดทุนขั้นสูงสุดได้ เพราะฉะนั้นแล้ว การตั้ง Stop Loss และ Take Profit ไว้ ก็สามารถช่วยคุณจำกัด กำไร และ ขาดทุน ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
นักเทรด และ นักลงทุน ควรมีการวางแผนการลงทุนที่ชัดเจน อย่างกลยุทธ์ที่รองรับการใช้เลเวอเรจ เพื่อป้องกันผลขาดทุนอย่างรุนแรง หากคุณยังไม่เข้าใจการทำงานของเลเวอเรจ ก็ยังไม่ควรเลือกเลือกใช้รูปแบบนี้ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเทรดของคุณมากกว่า แต่หากคุณยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็สามารถเลือกใช้ได้ ซึ่งเราอธิบายวิธีคำนวณไว้ให้คุณข้างต้นแล้ว
หากคุณเลือกเทรดที่ใช้เลเวอเรจ ก็ควรมีการติดตามสถานะอย่างใกล้ชิด เพราะบางครั้งตลาดอาจจะมีความผันผวนตามการวิเคราะห์พื้นฐานที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจจะทำให้คุณขาดทุนมาก แต่หากคุณคอยอัพเดตการเคลื่อนไหวของราคา ก็สามารถปิดการซื้อขายได้ทันเวลา แต่แน่นอนว่า การตั้งค่า Stop Loss เอาไว้ ก็สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียตรงนี้ได้เช่นกัน
เลเวอเรจ คือ (What is leverage) เครื่องมือที่ช่วยให้คุณมีอำนาจในการซื้อขาย เพื่อทำกำไรเพิ่มคุณอย่างทวีคูณ แตกต่างจากมาร์จิ้นตรงที่คุณยืมเงินจากโบรกเกอร์ โดยที่ไม่ต้องใช้เงินทุนของตัวเองทั้งหมด แม้ว่าคุณจะมีเงินทุนน้อย แต่ก็สามารถเลือกเทรดเลเวอเรจสูงได้ นักเทรดมื่อใหม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้อย่างละเอียด รวมทั้งไม่ควรมองข้าม การตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit สำหรับการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
เลเวอเรจ คือ (What is leverage) ไม่ว่าจะใน ตลาดหุ้น หรือ ตลาดอื่นๆ จะมีความหมายเหมือนกัน ซึ่งเป็นการยืมเงินจากโบรกเกอร์ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำไรนั่นเอง
สำหรับมือใหม่ เราแนะนำ 1:10 - 1:50 เพื่อความปลอดภัย ยิ่ง Leverage สูง ก็จะยิ่งเสี่ยง
คุณสามารถเปิดออร์เดอร์ได้ 200 เท่าของเงินทุน เช่น หากคุณมี $100 อยู่ในกระเป๋า คุณก็จะสามารถเทรดได้สูงสุด $20,000
อัตราส่วน Leverage ที่บอกว่า ควรใช้เงินทุนจริงเท่าไหร่ ในการควบคุมการซื้อขายในตลาดหุ้น เช่น 1:5 และ 1:20 เป็นต้น
ระดับหลักประกัน จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ที่แสดงความปลอดภัยของพอร์ต เพื่อไม่ให้คุณเทรดเกินกว่างบในพอร์ตที่มือ ซึ่งหากต่ำกว่า 100% ก็เสี่ยงโดนเรียกมาร์จิ้น
หากคุณมีทุน $1,000 สามารถเปิด Lot ได้สูงสุด ประมาณ 5 ล็อต ตามมาตรฐาน (1 ล็อต เทรดสูงสุดได้ถึง $100,000)
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง