Logo
หน้าหลัก  >  บทความ  >  การเทรดตามsupplyและdemand

ฟอเร็กซ์

การเทรดตาม Supply และ Demand: คู่มือสำหรับเทรดเดอร์

เขียนโดย XS Editorial Team

อัปเดตแล้ว 24 ตุลาคม 2024

การเทรดตามsupplyและdemand
สารบัญ

    การเทรดตาม Supply และ Demand เป็นกลยุทธ์ที่อาศัยการระบุระดับราคาที่มีผู้ซื้อและผู้ขายที่เป็นปัจจัยหลักเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การกลับตัวของตลาดที่อาจเกิดขึ้น

    คู่มือนี้จะอธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเทรดตาม Supply และ Demand รวมไปถึงแนวคิดและกลยุทธ์ที่สำคั

    สาระสำคัญ

    • Supply และ Demand เป็นพื้นที่เฉพาะบนกราฟราคาซึ่งมีแรงกดดันในแรงซื้อหรือแรงขายส่งผลให้เกิดการกลับตัวของราคา

    • ใช้โซน Supply และ Demand ในการตั้งจุดเข้าและออกที่แม่นยำจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์การเทรดและความสามารถในการทำกำไร

    • การทำงานร่วมกันของ Supply และ Demand เป็นตัวกำหนดการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของตลาด

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    การเข้าใจการซื้อขายตาม Supply และ Demand

    โดยหลักแล้วกลยุทธ์การซื้อขายตาม Supply และ Demand อาศัยหลักการทางเศรษฐศาสตร์พื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาของสินทรัพย์ใด ๆ แต่ในบริบทของการซื้อขาย Supply และ Demand หมายถึงอะไร?

    Supply หมายถึงปริมาณของสินทรัพย์ที่มีพร้อมสำหรับขายในระดับราคาต่าง ๆ

    ในทางการซื้อขายโซน Supply คือพื้นที่ที่ความสนใจในการขายมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะเอาชนะแรงซื้อ ซึ่งส่งผลทำให้ราคาลดลง

    ในทางตรงกันข้าม Demand หมายถึงปริมาณสินทรัพย์ที่ผู้ซื้อยินดีจะซื้อในระดับราคาต่าง ๆ

    โซน Demand คือพื้นที่ที่ความสนใจในการซื้อมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะเอาชนะแรงขาย ซึ่งส่งผลทำให้ราคาสูงขึ้น

    จุดดุลยภาพเกิดขึ้นเมื่อปริมาณ Supply เท่ากับปริมาณ Demand ในระดับราคาหนึ่ง ๆ ความสมดุลระหว่าง Supply และ Demand นี้ทำให้ราคาคงที่ซึ่งเป็นจุดที่ตลาดปรับสมดุล

    ในบริบทของการซื้อขายจุดดุลยภาพเป็นสภาวะแบบไดนามิก ราคาตลาดมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาเนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขายทำการซื้อขายตามความคาดหวังของพวกเขาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

    เมื่อราคาอยู่ในภาวะสมดุลจะไม่มีแรงผลักดันที่แข็งแกร่งให้ราคาสูงขึ้นหรือต่ำลง

    กฎของการซื้อขายตาม Supply และ Demand

    กฎของ Supply และ Demand เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการซื้อขายเมื่อมีอุปสงค์ต่อสินทรัพย์สูงและอุปทานต่ำราคาจะเพิ่มขึ้น

    ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีอุปทานสูงและอุปสงค์ต่ำราคาจะลดลง

    เทรดเดอร์จะใช้หลักการเหล่านี้เพื่อค้นหาโอกาสในการซื้อขายที่เป็นไปได้โดยการมองหาความไม่สมดุลในตลาด

    เช่น หากเทรดเดอร์ระบุโซน Supply ที่มีผู้ขายจำนวนมากคาดว่าจะเข้าตลาดพวกเขาอาจคาดว่าราคาจะลดลงและพิจารณาการขายชอร์ตสินทรัพย์นั้น

    บทบาทของ Supply และ Demand ในการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาด

    อุปสงค์และอุปทานมีบทบาทสำคัญในกาคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาด

    โดยการวิเคราะห์โซน Supply และ Demand เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ได้ว่าราคาจะกลับตัวหรืออาจติดตามแนวโน้มต่อไป ซึ่งช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อขายได้อย่างมีข้อมูลและเพิ่มความสามารถในการทำกำไร

    อุปสงค์และอุปทานส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

    หลักการของการซื้อขายตามอุปสงค์ (Supply) และอุปทาน (Demand) ไม่เพียงแต่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์แต่ละรายแต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในวงกว้าง

    ตัวอย่างเช่น อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าและบริการเมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้นและอุปทานคงที่ ราคาจะสูงขึ้น

    ในทางตรงกันข้ามหากอุปทานเพิ่มขึ้นและอุปสงค์ไม่เปลี่ยนแปลงราคาจะลดลง

    นอกจากนี้หลักการของอุปสงค์และอุปทานยังช่วยอธิบายภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืดอีกด้วยภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์เกินอุปทานทำให้ราคาสูงขึ้น

    นอกจากนี้อุปสงค์และอุปทานยังส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอุปสงค์ที่สูงกระตุ้นให้ธุรกิจลงทุนในการผลิต จ้างพนักงานมากขึ้น และขยายกิจการซึ่งช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

    โซนการซื้อขายตาม Supply และ Demand คืออะไร?

    โซนการซื้อขายตามอุปสงค์ (Supply) และอุปทาน (Demand) หมายถึงพื้นที่บนกราฟราคาที่ตลาดเคยแสดงปฏิกิริยาอย่างรุนแรงเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

    โซน Supply

    โซน Supply คือพื้นที่ราคาที่แรงขายมีมากกว่าแรงซื้อทำให้ราคาลดลง

    โซนเหล่านี้มักก่อตัวขึ้นหลังจากการปรับตัวขึ้นของราคา เมื่อฝั่งขายเริ่มเข้ามาทำกำไรหรือเมื่อมองว่าสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงเกินไป

    ในการซื้อขายตาม supply และ demand โซนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นระดับแนวต้านที่เทรดเดอร์คาดว่าจะเกิดการกลับตัวของราคาหรือหยุดชะงัก

    โซน Demand

    โซน Demand คือพื้นที่ราคาที่แรงซื้อมากกว่าแรงขายทำให้ราคาสูงขึ้น

    โซนเหล่านี้มักก่อตัวขึ้นหลังจากการปรับตัวลงของราคาเมื่อฝั่งผู้ซื้อมองว่าสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรและจะเริ่มซื้อ

    โซน Demand ทำหน้าที่เป็นระดับแนวรับในการซื้อขายตาม supply และ demand ที่เทรดเดอร์คาดการณ์ว่าราคาจะดีดตัวขึ้นหรือคงที่

    การสะสมตัวและการกระจายตัว

    ช่วงการสะสมตัวเกิดขึ้นเมื่อเงินอัจฉริยะหรือผู้ลงทุนสถาบันซื้อสินทรัพย์จำนวนมากในราคาที่ต่ำจะสร้างโซนอุปสงค์

    เมื่อสิ้นสุดช่วงการสะสมตัวความเชื่อมั่นของตลาดจะเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่ช่วงการกระจายตัว

    ช่วงนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เริ่มขายสินทรัพย์ในราคาที่สูงขึ้นสร้างโซน Supply ซึ่งเพิ่มแรงขายและมักเป็นสัญญาณการปรับตัวลงของราคา

    ช่วงเหล่านี้เป็นจุดเปลี่ยนจากช่วงสะสมตัวไปสู่ช่วงกระจายตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นของตลาดเปลี่ยนจากขาขึ้น (Bullish) ไปเป็นขาลง (Bearish)

    ช่วงการสะสมซ้ำและช่วงกระจายตัวซ้ำ

    ช่วงการสะสมซ้ำเกิดขึ้นในช่วงขาลงเมื่อมีการหยุดชั่วคราวของตลาด

    ช่วงการพักชะลอตัวนี้นำไปสู่การต่อเนื่องของแนวโน้มขาลง เนื่องจากแรงขายกลับมาดำเนินต่อและก่อให้เกิดโซน Supply ใหม่

    ในช่วงขาขึ้นช่วงการสะสมซ้ำเกิดขึ้นเมื่อมีการพักชะลอตัวของตลาดก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นต่อไป

    ช่วงการหยุดพักนี้จะสร้างโซน Demand ใหม่เนื่องจากแรงซื้อเริ่มสะสมตัวเพื่อขับเคลื่อนการขึ้นต่อของแนวโน้ม

    การระบุโซนการซื้อขายตาม Supply และ Demand

    เทรดเดอร์จำเป็นต้องระบุโซน Supply และ Demand บนกราฟของตนเพื่อทำการซื้อขายระดับ Supply และ Demand ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมองหาพื้นที่ที่ราคากลับทิศทางไปก่อนหน้านี้ด้วยโมเมนตั้มที่สำคัญตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่:

    • การเคลื่อนไหวของราคา (Price Action): การเคลื่อนไหวของราคาที่ชัดเจนออกจากโซนแสดงถึง supply หรือ demand ที่แข็งแกร่ง

    • ปริมาณการซื้อขายที่พุ่งสูง (Volume Spikes): ปริมาณการซื้อขายที่สูงในระดับราคาที่เฉพาะเจาะจงอาจบ่งชี้ถึง supply หรือ demand ที่สำคัญ

    • การกลับตัวก่อนหน้า (Previous Reversals): พื้นที่ที่ราคามีการเปลี่ยนทิศทางหลายครั้งก่อนหน้านี้เป็นตัวบ่งชี้ที่แข็งแกร่งของโซน supply และ demand

    รูปแบบต่าง ของการก่อตัวของ Supply และ Demand

    รูปแบบการซื้อขายตาม Supply และ Demand ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถที่จะระบุการเคลื่อนไหวของตลาดที่อาจเกิดขึ้นและตัดสินใจซื้อขายอย่างมีข้อมูล

    ลองเจาะลึกถึงรูปแบบ Supply และ Demand ที่พบได้บ่อยที่สุดที่เทรดเดอร์ต่างมองหา

    ฐานแนวโน้มต่อเนื่อง (Trend Continuous Base)

    การพุ่งขึ้น-หยุดตัว-พุ่งขึ้น (RBR)

    การพุ่งขึ้น-หยุดตัว-พุ่งขึ้น (RBR) เป็นรูปแบบที่บ่งชี้ถึงการต่อเนื่องของแนวโน้มขาขึ้น ลองมาดูกันว่ารูปแบบนี้ทำงานอย่างไร:

    • การพุ่งขึ้น: ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งจะสร้างแนวโน้มขาขึ้น

    • การหยุดตัว: ราคาคงตัวในช่วงแคบ ๆ สร้างฐาน ซึ่งแสดงถึงการหยุดชั่วคราวในแนวโน้มขาขึ้นขณะที่ตลาดสะสมแรงสำหรับการเคลื่อนไหวต่อไป

    • การพุ่งขึ้น: ราคาทะลุออกจากฐานและปรับตัวสูงขึ้นต่อไป

    ในการซื้อขายตาม Supply และ Demand เทรดเดอร์จะมองหาฐานเป็นจุดเข้าที่เป็นไปได้
    เมื่อราคากลับมาที่ฐานหลังจากการปรับตัวขึ้นครั้งแรก มันมักจะพบแนวรับและปรับตัวสูงขึ้นต่อ รูปแบบนี้มีประโยชน์ในการระบุโอกาสในการซื้อในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง

    การร่วง-การหยุดตัว-การร่วง (DBD)

    การร่วง-การหยุดตัว-การร่วง (DBD) เป็นรูปแบบที่แสดงถึงการต่อเนื่องของแนวโน้มขาลงโดยมีรายละเอียดดังนี้:

    • การร่วง: ราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรงจะสร้างแนวโน้มขาลง

    • การหยุดตัว: ราคาคงตัวในช่วงแคบ ๆ สร้างฐาน ซึ่งบ่งบอกถึงการหยุดชั่วคราวในแนวโน้มขาลงเนื่องจากตลาดดูดซับแรงขาย

    • การร่วง: ราคาทะลุฐานและปรับตัวลงต่อ

    เมื่อราคากลับมาที่ฐานหลังจากการปรับตัวลงครั้งแรกมักจะพบแนวต้านและปรับตัวลงต่อ

    ฐานการกลับตัวของเทรนด์ (Trend Reversal Base)

    การพุ่งขึ้น-การหยุดตัว-การ่วง (RBD)

    การพุ่งขึ้น-การหยุดตัว-การ่วง (RBD) บ่งชี้ถึงการกลับตัวจากแนวโน้มจากขาขึ้นไปสู่ขาลง ลำดับการเคลื่อนไหวเป็นดังนี้:

    • การพุ่งขึ้น: ราคาปรับตัวขึ้นจะสร้างแนวโน้มขาขึ้น

    • การหยุดตัว: ราคาคงตัวในช่วงแคบ ๆ สร้างฐาน ซึ่งบ่งบอกถึงจุดเปลี่ยนที่ตลาดกำลังตัดสินใจในการเปลี่ยนทิศทางต่อไป

    • การ่วง: ราคาทะลุฐานลงด้านล่างแสดงถึงจุดเริ่มต้นของแนวโน้มขาลงใหม่

    รูปแบบนี้ใช้ในการระบุการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้นในตลาด Supply และ Demand เมื่อราคากลับมาที่ฐานหลังจากการปรับตัวลงครั้งแรกมักจะพบแนวต้านและเริ่มปรับตัวลงอีกครั้ง

    การร่วง-การหยุดตัว-การพุ่งขึ้น (DBR)

    การร่วง-การหยุดตัว-การพุ่งขึ้น (DBR) บ่งชี้ถึงการกลับแนวโน้มจากขาลงไปสู่ขาขึ้น ลำดับการเคลื่อนไหวเป็นดังนี้:

    • การร่วง: ราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรงจะสร้างแนวโน้มขาลง

    • การหยุดตัว: ราคาคงตัวในช่วงแคบ ๆ สร้างฐาน ซึ่งบ่งบอกถึงจุดเปลี่ยนที่ตลาดกำลังตัดสินใจในการเปลี่ยนทิศทางต่อไป

    • การพุ่งขึ้น: ราคาทะลุฐานขึ้นด้านบน สดงถึงจุดเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่

    รูปแบบนี้มีคุณค่าสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการจับการกลับตัวของแนวโน้ม เมื่อราคากลับมาที่ฐานหลังจากการปรับตัวขึ้นครั้งแรกมักจะพบแนวรับและปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง

    กลยุทธ์การซื้อขายตาม Supply และ Demand

    การสร้างกลยุทธ์การซื้อขายตาม Supply และ Demand ที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญไม่กี่ขั้นตอน:

    • ระบุโซน:

      • โซน Supply: มองหาพื้นที่ที่ราคากลับตัวลงอย่างรวดเร็ว

      • โซน Demand: มองหาพื้นที่ที่ราคากลับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

    • ตั้งจุดเข้าและออก:

      • คำสั่งซื้อ: วางไว้ที่โซน Supply

      • คำสั่งขาย: วางไว้ที่โซน Demand

      • กำหนดเป้าหมายทำกำไร: ตั้งไว้ก่อนถึงโซน Supply หรือ Demand ถัดไปเล็กน้อย

    • ใช้คำสั่งหยุดขาดทุน:

      • สำหรับการซื้อ: วางต่ำกว่าโซน Supply เล็กน้อย

      • สำหรับการขาย: วางสูงกว่าโซน Demand เล็กน้อย

    • ติดตามและปรับเปลี่ยน:

      • ปรับโซนตามการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นใหม่

      • ประเมินการซื้อขายอีกครั้งและปรับระดับหยุดขาดทุนและกำไรตามความจำเป็น

    ตัวอย่างเช่น บนกราฟคู่สกุลเงิน EUR/USD ซื้อที่ 1.1210 โดยตั้งหยุดขาดทุนที่ 1.1180 และทำกำไรที่ 1.1280 ติดตามและปรับเปลี่ยนเป็นระยะตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด

    Supply และ Demand ในตลาดฟอเร็กซ์

    การซื้อขายตามอุปสงค์ (Supply) และ อุปทาน (Demand) มีประสิทธิภาพอย่างมากใน ตลาดฟอเร็กซ์ ราคาฟอเร็กซ์ได้รับอิทธิพลจากแรงซื้อและแรงขายที่ไหลเวียนอย่างต่อเนื่องจากเทรดเดอร์ทั่วโลก

    การระบุโซน Supply และ Demand ในตลาดฟอเร็กซ์ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาและตัดสินใจอย่างรอบรู้

    • โซน Demand: มองหาระดับราคาที่ผู้ซื้อเข้ามาซื้ออย่างต่อเนื่องทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น

    • โซน Supply:ระบุระดับที่ผู้ขายเข้ามาขายอย่างต่อเนื่องทำให้ราคาปรับตัวลดลง

    • กลยุทธ์การซื้อขาย:ใช้โซนเหล่านี้ในการตั้งจุดเข้าและออกจัดการความเสี่ยงด้วยคำสั่งหยุดขาดทุน และเพิ่มผลกำไรด้วยการกำหนดเป้าหมายที่โซน Supply หรือ Demand ถัดไป

    บทสรุป

    การซื้อขายตาม Supply และ Demand มอบวิธีการที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพในการทำความเข้าใจและคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดเทรดเดอร์สามารถเสริมการตัดสินใจและเพิ่มผลกำไรได้โดยการระบุโซนสำคัญของ Supply และ Demand โดยการตั้งจุดเข้าและออกด้วยกลยุทธ์ และจัดการความเสี่ยงด้วยคำสั่งหยุดขาดทุน เข้าร่วม XS วันนี้และเริ่มซื้อขายได้เลย!

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      โซนSupplyและDemand เป็นพื้นที่เฉพาะที่ราคากลับตัวเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

      ซึ่งโซนเหล่านี้มีความกว้างกว่าและสะท้อนถึงกิจกรรมของสถาบัน

      ในขณะที่โซนแนวรับและแนวต้านเป็นระดับราคาที่เฉพาะเจาะจงที่ราคากระเด้งออกหลายครั้งแสดงถึงระดับจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ตอบสนอง

      ความสัมพันธ์ระหว่าง Demand และ Supply กำหนดราคาของสินทรัพย์ เมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้นและอุปทานคงที่ราคาจะเพิ่มขึ้น

      ในทางกลับกันเมื่ออุปทานเพิ่มขึ้นและอุปสงค์คงที่ราคาจะลดลงปฏิสัมพันธ์นี้สร้างการเปลี่ยนแปลงของตลาดและการเคลื่อนไหวของราคา

      หลักการพื้นฐานของ Demand และ Supply คือราคาของสินทรัพย์ถูกกำหนดโดยระดับ Demand และ Supply ในตลาด

      Demand ที่สูงกับ Supply ที่ต่ำทำให้ราคาขยับขึ้นในขณะที่อุปทานที่สูงกับอุปสงค์ที่ต่ำทำให้ราคาลดลง หลักการนี้เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจตลาดและเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์การซื้อขาย

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top